2014年3月10日月曜日

ถ่ายทอดวิชา~><!?

  สวัสดีค่ะ อายะจังจ้า~^^ วันนี้ก่อนนอนอายะขอเอาคำศัพท์มาอัพอีกนะคะ อายะเล่นเกมส์ทำอาหารมาแล้วเจอคำศัพท์ที่น่าสนใจค่ะ><
  คำนั้นก็คือ~~"ถ่ายทอดสอนความรู้"
    1。コツを直伝する(じきでん):ถ่ายทอดเคล็ดลับโดยตรงจากอาจารย์สู่ลูกศิษย์
    2。〜の作り方を伝授する(でんじゅ):ถ่ายทอดวิชาความรู้หรือเคล็ดลับ
  จากการที่อายะค้นหาศึกษามา ดูเหมือนว่าต่างกันตรงที่ คำว่า 直伝 ー>直(ตรงๆ)+伝(บอกต่อ) จึงมีความหมายของการถ่ายทอดวิชาความรู้แบบโดยตรงๆนะคะ เป็นอะไรพิเศษๆกว่าคำที่2ค่ะ^^
  ไขอโทษจริงๆนะคะ ม่รู้ว่าอายะอธิบายไม่ดีผิดตรงไหนไหม อย่างไรก็เขียนบอกกันได้นะคะ><

ชุดคำศัพท์ประจำฤดูหนาวญี่ปุ่น?

  สวัสดีค่ะ อายะเช่นเดิมค่ะ วันนี้อายะมีชุดคำศัพท์น่าสนใจมานำเสนอค่ะ เป็นชุดคำศัพท์ที่อายะคิดว่าน่าจะได้ยินได้ใช้กับช่วงฤดูหนาวของญี่ปุ่นนี้ค่ะ
  เอาเป็นว่ามาดูกันเลยนะคะ^^
  เพราะช่วงนี้ที่ญี่ปุ่นหนาว จึงไม่สบายกันค่อนข้างเยอะ อายะขอเริ่มที่คำง่ายๆก่อนเลยนะคะ 
  1。風邪(かぜ)を引く(引いた):เป็นหวัด*คำช่วยをนะคะ^^
  อาจมีอาการ..
  2。鼻がつまる:คัดจมูก
  คำต่อมาเมื่อเป็นหวัดต้อง..
  3。薬を飲む:ทานยา
  และต้อง..
  4。マスクをする:สวมหน้ากาก
  และถ้าเกิดมีไข้ล่ะก็..><
  5。体温計(たいおんけい)で体温を測る(はかる):วัดไข้ด้วยปรอทวัดไข้
  ส่วนอันนี้เผื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิค่ะ^^
  *花粉症(かふんしょう)になる:แพ้เกสรดอกไม้ค่ะ^^
  แล้วก็อย่าลืมพูดว่า 「お大事に」/お大事にどうぞ/お大事にください กันด้วยนะคะ
  ชุดคำศัพท์นี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนไหมนะคะ>< ขอให้เป็นประโยชน์กับทุกคนด้วยเถอะค่ะ><

เมื่อคุณมีดเหนื่อย ก็ให้เขานอน~^^

  สวัสดีค่ะ อายะจังอีกแล้วค่ะ^^  เมื่อวันก่อนอายะอ่านหนังสือสอนทำอาหารผญี่ปุ่นภาษาญี่ปุ่นค่ะ และแล้วก็เจอประโยคน่ารักๆน่าสนใจมาค่ะ ขอนำมาเสมอนะคะ
 「包丁を寝かせる」><
  =ให้คุณปังตอนอน?
  ไม่ใช่ๆไม่ช่าย ไม่ใช่ๆไม่ช่าย~ อย่าแปลแบบนั้นน้า~
  มีใครเคยเจอคำนี้ไหมนะคะ อย่าเข้าใจผิดนะคะ ><ประโยคนี้หมายความเพียงว่า ให้ผู้อ่านตะแคงมีด(กึ่งนอน/=ตะแคงเยอะๆ) เท่านั้นเองค่ะ^^
  ปิดเทอมนี้คงพอจะมีหลายคนอยากทำอาหาร ลองใช้ความรู้ประยุกต์กับงานอดิเรกดูนะคะ อายะหวังว่าจะช่วยเติมเต็ความสุจให้ได้นะคะ^^

「少々」と「ひとつまみ」とはどのぐらい分量ですか?

  สวัสดีค่ะ อายะค่ะ เพื่อนๆคะ มีใครชอบทำอาหารไหมคะ? แล้ว..มีใครอ่านวิธีทำภาษาญี่ปุ่นไหมคะ?^^ เคยเจอ2คำนี้「少々(しょうしょう)」และ「ひとつまみ」แล้วสับสนกับปริมาณความแตกต่างกันบ้างไหมนะคะ~
  ถ้าหสกว่ามีใครสับสน อายะหวังเป็นอย่างยิ่งเลยค่ะว่าคำอธิบายนี้จะช่วยได้ ถ้าอย่างนั้นมาดูที่อายะเข้าใจกันนะคะ^^
  ก่อนอื่นขอพูดถึงความหมายร่วมก่อนนะคะ ไม่ว่าจะคำไหน ก็แสดงถึงปริมาณเล็กน้อย แต่...
  1。少々(しょうしょう):ปริมาณเล็กน้อย แบบนิดหน่อย อาจจะเป็นแค่1/6หรือปลายๆช้อนชาค่ะ
  2。ひとつまみ:ปริมาณเล็กน้อยแบบ หยิบมือค่ะ นิ้วชี้กับนิ้วโป้งหนีบเกลือมาโปลยๆประมาณนั้น(มั้ง)คะ><
  เป็นอย่างไรบ้างคะ หวังว่าความรู้ในครั้งนี้จะช่วยเป็นประโยชน์กับเหล่าผู้รักการทำอาหารกันนะคะ^^
  ถ้าอย่างนั้น ไว้เจอกันใหม่นะคะ^^

นอนเต็มอิ่ม ตื่นนอนแล้วมัน So Fresh!^^

  สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ทุกคน กินหนำกินอิ่ม นอนหลับเต็มอิ่ม กันหรือเปล่าคะ? พอนอนหลับเต็มก็จะรู้สึกสดชื่นสินะคะ^^ อืม~ รู้สึกสดชื่นภาษาญี่ปุ่นนี่คืออะไรนะคะ><
  ว่าแล้วนึกเอะใจ ใฝ่รู้นัก อายะไม่พัก ตระหนักรู้ เร่งจรลี พิมพ์ดีด ถามอากู๋ปรู แล้วได้รู้คำตอบไขฉงนมา~(ป.ล.ทำนองกลอนอย่างไทย)
  ได้แล้วค่ะ คำตอบ~ แต่เดี๋ยวก่อนค่ะมันได้มา2คำค่ะ><
  1。さっぱり:สดชื่น
  2。すっきり:สดชื่น
  แล้ว~ จะเลือกใช้อย่างไรดีล่ะคะ>< อายะจึงหาเพิ่มค่ะ
   1。さっぱり:สดชื่น อารมณ์แบบสดใส
   2。すっきり:สดชื่น อารมณ์แบบปลอดโปล่ง
  อืม~ แต่มันก็คล้ายๆกันอยู่ใช่ไหมคะ>< เนื่องจากเป็นคำที่มีความหมายคล้ายกันมาก.. ขอโทษจริงๆนะคะ>< แต่ถึงยังไงอายะคิดว่าใช้ได้ทั้ง2คำนะคะ อายะเคยใช้มั้งคู่เลยค่ะ^^

2014年3月9日日曜日

ผิวนุ่มนิ่มน่ารัก><

  "สวัสดีค่ะ แขกผู้มีอุปการะคุณโปรดทราบค่ะ ใครอยากผิวนุ่มนิ่มน่ารักบ้างคะ? เชิญมาชมผลิตภัณฑ์ของอายะจังเลยค่ะ~^^"
  สวัสดีค่ะ คราวนี้อายะมาทักทายแบบบีเอขายเครื่องสำอางค์ดูค่ะ เหตุจูงใจคือ คำโฆษณาครีมที่อายะซื้อมาจากญี่ปุ่นค่ะ^^
  ในคำโฆษณานั้น มีคำศัพท์คำหนึ่งที่น่าสนใจมาก เป็นศัพท์ที่ทำให้อายะนึกถึงคำศัพท์กลุ่มที่มีความหมายเหมือนกันขึ้นมาค่ะ
  คำนั้นก็คือ~"ぷるぷる"ค่ะ^^
  พอพูดถึงคำเลียนเสียงของญี่ปุ่นที่มีความหมายไปทางเดียวกันว่านุ่มนิ่ม ดึ๋งดั๋ง เด้งดึ๋งแล้วอายะก็นึกถึง3คำนี้ค่ะ
  1。ふわふわ
  2。ぷよぷよ
  3。ぷるぷる
  แล้ว3คำนี้นั้นต่างกันอย่างไร??? ขอให้อายะหมาน้อยผู้นี้ได้อธิบายค่ะ><
  1。ふわふわ:นิ่มแบบ ฟูๆ ฟ่องๆ ฟูฟ่องๆค่ะ(นึกภาพฟองสบู่ หรือ ขนมปังฟูๆค่ะ)
  2。ぷよぷよ:นิ่มแบบ เยลลี่ค่ะ เด้งๆ(นึกภาพตัวคาแรคเตอร์ในเกมส์ชื่อดังของญี่ปุ่นที่ชอบเด้งตัวไปมาค่ะ)
  3。ぷるぷる:นิ่มแบบ พุดดิ้งค่ะ ดึ๋งๆ(นึกภาพพุดดิ้งที่พอตักทีก็เด้งดึ๋งปุบปับกระสับกระส่ายค่ะ)
  แล้วสรุปถ้าอยากพูดว่าผิวนุ่มนิ่มน่ารักต้องใช้อันไหนกันนะคะ^^ 
  อันที่3ค่ะ:「肌がぷるぷるで可愛い〜」
  (อันนี้อายะลองแต่งเองถ้าคิดว่าไม่ถูกต้อง บอกกล่าวได้ที่กล่องความเห็นข้างล่างเลยค่ะ^^)

อ่านข่าวกระชากความรู้!

  สวัสดีค่ะ เป็นยังไงคะ กับลีลาการลองตั้งชื่อหัวข้อครั้งนี้แบบการพาดข่าวดู ระทึก กระชับดีไหมคะ^^
  ทำไมวันนี้อายะถึงคิดอยากลองตั้งหัวข้อเลียนแบบข่าวอย่างนั้นหรือคะ? นั่นก็เพราะคราวนี้เนื้อหาที่เราจะพูดถึงกันนั้นมันเกี่ยวข้องกับข่าวบ้านเมืองน่ะสิคะ><
  เพื่อนเคยต้องหรือคิดอยากลองเล่า เสวนา แลกเปลี่ยนข่าวการเมืองบ้างไหมคะ อย่างข่าวล่าสุดสุดฮอทตอนนี้ คงพ้นเรื่องการเดินขบวนต่อต้านใช่ไหมคะ แล้วเพื่อนๆจะมีปัญหาเรื่องคำศัพท์บ้างไหมนะคะ แต่นแต๊น อายะเรนเจอร์มาแล้วค่ะ~^^
  เอาล่ะค่ะ หลังจากที่ไปค้นมาแล้วก็มาดูคำศัพท์กันเลยค่ะ
  1。デモ隊(でもたい)=กลุ่มฝูงชนผู้เดินประท้วง
  2。デモ隊が集まる=กลุ่มฝูงชนผู้เดินประท้วงมารวมตัวกัน/ชุมนุมกัน
  3。デモ隊を解散する(かいさんする)=กลุ่มฝูงชนผู้เดินประท้วงสลายการชุมนุม
  4。デモを行う=รวมตัวประท้วง
  ป.ล.ขอโทษจริงๆนะคะ ที่จริงอันนี้อะยะก็ไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่ แต่ถ้ามีประโยชน์และสามารถช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้ได้ก็ดีใจเป็นอย่างย่งค่ะ^^
  ไว้เจอกันหัวข้อต่อไปนะคะ^^

ยังคงชมดูดูชมโคนันค่ะ^^

  สวัสดีค่ะ ช่วงนี้อายะหายหน้าไปนานอีกแล้ว ต้องขอโทษจริงๆค่ะ พอดีอยู่ช่วงสอบ จึงกระโจนพลีกายลงในกองหนังสือและสุมชีท ตะเกียกตะกายพยายามใช้สองแขนสองมือพลิกหนังสืออ่าน ตวัดเขียนลงกระดาษสอบ และสองขายันตัวเองลุกขึ้นสู้ตลอดระยะที่ผ่านมา มีสำลักตัวอักษรบ้าง แต่อะยะก็สู้ยิบตาหมาแบ๊วน้อยๆเลยค่ะ
  กลับมาคราวนี้ อะยะจะกระหน่ำอัพบล็อกค่ะ พร้อมไหมคะ? ... พร้อมแล้วใช่ไหมคะ? งั้นกระโดดขึ้นรถมาเลยค่ะ อะยะจะเหยียบคันเร่งพาตะลุยโลกแห่งการเรียนรู้ล่ะค่ะp(^_^)q 

  ก่อนอื่นขอเอาเนื้อหาที่อยากอัพแต่เวลาไม่อำนวยมาก่อนนะคะ ยังคงเป็นกระแสโคะนัน(โคนัน)ค่ะ^^
  เพื่อนๆเคยชมโคนันพากย์ญี่ปุ่นไหมคะ คำพูดติดปากของโคนันเวลาขึ้นต้นตอนต่างๆคืออะไรเอ่ย?คำใบ้ หัวข้อคราวนี้ไม่ใช่คำว่า"ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว"นะคะ^^
  เฉลย 「見た目は子供、頭脳は大人。。。」
  ใช่แล้วค่ะประโยคนี้นี่แหละค่ะที่อายะอยากนำมาพูดวันนี้ เพราะคิดว่าคำศัพท์และรูปประโยคน่าสนใจดี จึงขอนำมาพูดนะคะ^^
   ถ้าอย่างนั้นแล้วมาดูคำศัพท์กันนะคะ
     แบบแรกตามพจนานุกรมค่ะ
     1。見た目(みため)=การปรากฎตัว/การปรากฎขึ้น
     2。頭脳(ずのう)=มันสมอง/สติปัญญา/หัวสมอง
      แบบที่สองตามฉบับอายะคิดปรับสอดคล้องกับเนื้อเรื่องค่ะ
     1。見た目(みため)=ภายนอก(ภาพที่เห็น)
     2。頭脳(ずのう)=มันสมอง
  ที่จริงแล้วอายะแค่ต้องการให้เข้าใจชัดมากขึ้นเท่านั้นเองค่ะ^^ 
  ทราบคำแปลอย่างนี้แล้ว ทุกคนจะพลิกแพลงแปลออกมาเป็นยังไงนะคะ น่าสนใจจังเลยค่ะ ถ้าไม่ว่าอะไรลองมาแชร์กันดูนะคะ^^

2014年2月16日日曜日

「ている」・「てある」・「ておく」どう違いますか。▽?^?▽

  สวัสดีค่ะ ช่วงนี้อะยะมาบ่อยจังเลย^^; อะยะกลายเป็นโฮ่งน้อยจำไมไปแล้วหรือเปล่านะคะ ว่าแต่วันนี้อะยะจะมาคุยเรื่องอะไรกันนะคะ~^^ ไปดูเนื้อหากันเลยค่ะ^^
  เพื่อนหลายคนคงจะเคยเรียน「ている」กับ「てある」เพื่อบอกสภาพการณ์มาบ้างแล้ว แล้วเพื่อนๆเคยสับสนในการใช้กับ「ておく」กันบ้างไหมคะ? ความหมายและหน้าที่ของแต่ละอันมันคืออะไรกันนะคะ มาดูที่สิ่งที่อะยะศึกษาได้มากันค่ะ
(ขอขอบคุณข้อมูล ความรู้จากเว็บ:http://m.chiebukuro.yahoo.co.jp/detail/q1018220910 และ http://www.nihongo2.com/speaking/16.pdf)
  
  1.)「ている」:ทางテンスแล้วใช้บอกว่ากำลังดำเนินกริยาอะไรอยู่ เช่น ทานข้าวอยู่ อ่านหนังสืออยู่ ส่วนทาง アスペクトจะใช้ในการบอกสภาพของสิ่งของหรือสถานการณ์ทั่วไป เช่น ประตูปิดอยู่ ไฟเปิดอยู่ แอร์เปิดอยู่ [(何か)が+自動詞+ている]
  2.)「てある」:เป็นアスペクトบอกสภาพการณ์โดยมีนัยความหมายแฝงว่า"มีใครบางคน"ได้ทำให้สิ่งนั้นๆเป็นสภาพการณ์ดังกล่าว เช่น เสื้อผ้าวางพับ(ไว้)อยู่บนโต๊ะ(โดยผู้พูดต้องการสื่อว่า*มีใครบางคนมาพับไว้(สังเกตได้จากบริบท ฯลฯ)) [(誰か)が+(何)を+他動詞(タ形)>>>(を>>が)>>>(何)が+他動詞+てある]
  3.)「ておく」:เป็นアスペクトบอกสภาพการณ์ว่าทำสภาพทิ้งไว้ เตรียมไว้ เช่น วางหนังสือทิ้งไว้ เปิดแอร์ไว้(รอแขก) [(人)が+(何)を+他動詞+ておく(起こった状態>>>ておいた)]
  สรุปความต่าง:「ている」และ「てある」เป็นการบอกสภาพที่เน้นที่"ผล" แค่บอกสภาพที่เห็นเท่านั้น แต่「ておく」บอกสภาพที่เน้นนัยยะ"ตระเตรียม" "คงสภาพการณ์" นั้นไว้
  例:窓を開けました。
         A:窓が開いている。(บอกสภาพของ"ประตู"ที่ถูกเปิดไว้เฉยๆ)
         B:窓が開けてある。(บอกสภาพของ"ประตู"ที่ถูกใครบางคนเปิดไว้ "มีใครบางคนมาเปิดไว้"*(ดูโครงสร้างไวยากรณ์ข้างบนประกอบ))
         C:窓が開けておいた。(บอกว่ามีใครสักคนตั้งใจเปิดประตู"ไว้"(ดูโครงสร้างไวยากรณ์ข้างบนประกอบ))
  
  เพื่อนๆทุกคนเข้าใจไหมนะคะ~>< ถ้าไม่เข้าใจก็ทิ้งคำถามไว้กล่องข้อความได้นะคะ อะยะจะพยายามอธิบายให้เข้าใจค่ะ^^
  

2014年2月15日土曜日

注意:「もう」(の使い)に気を付けてねっ!(>_<)

  พอจะบอกเหตุการณ์อะไรที่เป็นอดีตไปแล้ว คำนี้ก็ต้องมาเป็นแพคเกจเลย 「もう」+〜た มีใครคิดอย่างนี้บ้างไหมคะ ยกมือขึ้นมาแตะกับอุ้งเท้าหน้าของอะยะเร็วค่ะ^^ มาอัพบล็อกในครานี้ อะยะมีเรื่องจะขอกล่าวเตือนไว้กันพลาดนิดนึงนะคะ^^
  แม้คำว่า 「もう」จะมีความหมายตรงกับคำไทยว่าแล้วก็จริง แต่ ไม่ได้อธิบายถึง"แล้ว"ที่หมายถึง เรื่องบางอย่างที่เกิดขึ้น"แล้ว" เท่านั้นนะคะ แต่ยังคงหมายถึง"แล้ว"ที่มีความหมายเชิงว่า พอ"แล้ว" ไม่เอา"แล้ว" อย่างเช่น 「もういい!」もうเป็นต้น ด้วยนะคะ>< เพราะฉะนั้นเวลาที่เพื่อนๆใช้อย่าลืมระวังน้ำเสียงและความหมายดีนะคะ ไม่งั้นจะกลายเป็นว่าเนื้อหาผิดเพี้ยนหรือต่างนานาก็เป็นได้ค่ะ^^
  ไปนอนก่อนนะคะ บ๊อกแบ๊ก~


  アヤはモッチーが大好きです。▽^エ^▽

「言った」 VS 「言っていました」

  สวัสดีค่ะอะยะกลับมาพร้อมกับข้อสงสัยอีกแล้วค่ะ และแน่นอนค่ะว่า อะยะต้องไม่ลืมที่จะไขข้อสงสัยมาให้ด้วย^^
  ข้อสงสัยครั้งนี้คืออะไรกันนะคะ ข้อสงสัยครั้งนี้ทุกคนอาจจะเคยเรียนผ่านหูผ่านตากันมานานแล้วอย่างอะยะ แต่ว่สจะพอมีใครเอะใจ ค้างคาในความแตกต่างการแยกใช้ของ 2 คำนี้เหมือนอะยะบ้างไหมนะคะ><?
  เพื่อนๆคิดว่า「言った」กับ 「言っていた」ต่างกันอย่างไรคะ เคยใช้สลับสับสนผิดถูกๆกันบ้างไหมคะ อะยะเคยใช้ไปตามความรู้สึกเหมาะสมหลายครั้งอยู่ค่ะ แต่ก็ไม่สามารถแบ่งเลือกใช้อย่างถูกต้องเลยซะทีเดียว
  ก่อนอื่นอะยะต้องขอขอบคุณข้อมูลคำอธิบายอ้างอิงจาก http://m.chiebukuro.yahoo.co.jp/detail/q10115671085  ค่ะ จากคำอธิบายในเว็บดังกล่าว อะยะได้ข้อสรุปประมาณนี้ค่ะ
  
  1)ถ้ามองในแง่แกรมม่าแล้ว ก็คือมีที่มาจากรูปบอกเล่าธรรมดากับ รูปบอกสภาพต่อเนื่องนั่นเองค่ะ และแน่นอนว่าการที่ลงท้ายด้วย た ก็คือพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอดีตทั้งคู่
  2)มามองให้ลึกลงไปถึงมุมมอง アスペクト กันค่ะ 「言った」แค่บอกอย่างง่ายว่า"พูด"(การกระทำเกิดในอดีต) เช่น はっきり言ったんだ。(พูดอย่างชัดเจน(อดีต)) ส่วน 「言っていた」จะเป็นการอธิบายสภาพการณ์ว่า"พูด"(ไว้ว่า) กล่าวคือ ในอดีตได้พูด(อะไรสักอย่าง)ไว้ แล้วสภาพการณ์ที่ว่าพูดไว้นี้ก็ยังคงต่อเนื่องอยู่ในความรู้สึกของผู้ได้ยินเมื่อเอาไปบอกคนอื่นต่อ แต่เราอาจไม่รู้ว่าเนื้อหาของคำพูดนั้นยังเป็นจริงอยู่หรือไม่ เช่น มีใครคนหนึ่งบอกว่าเขาจะไปเที่ยว แล้วเราก็ไปบอกคนอื่นต่อว่าเขาบอกว่าจะไปเที่ยว(แต่ ณ ตอนที่เราพูดนั้น เนื้อหาคำพูดนั้นจริงหรือไม่เราก็ไม่ทราบ จึงคิดได้ว่าเป็นสาเหตุให้เป็นรูป ている ที่กลายเป็น た)
  例: A:「旅行に行くよ!」( Aさんが「旅行に行くよ!」と言った。(単に事実を言う))
          B:(Cさんに言った)「Aさんは「旅行に行く(よ)。」と言っていたよ。」(3第者に過去のことを伝える)

  งือ~ อะยะรู้สึกว่าอะยพอธิบายไม่เก่งเลย ขอโทษนะคะ>< แต่อะยะยินดีอธิบายให้เข้าใจนะคะ ถ้ายังสงสัย ก็ทิ้งข้อความในกล่องแสดงความคิดเห็นไว้ได้เลยค่ะ^^ ไว้จะมาใหม่นะคะ

ขอบคุณมากสำหรับความเห็นนะคะ(^人^)

  คุณ Thanabat Pratueangchaisri และ Physn Wiggin ขอบคุณมากๆนะคะ ที่มาแสดงความเห็นและเยี่ยมชมบล็อกของอะยะจัง ขอโทษที่มาขอบคุณและขอโทษช้าไปมากนะคะ พอดีไม่สามารถตอบทางมือถือได้ระบบขัดข้อง ส่วนจะล็อกอินตอบทางคอมก็ทำไม่ได้ด้วย เพราะอะยะลืมรหัสค่ะ(>人<;)
อะยะขอโทษ อะยะขี้ลืมมากๆค่ะ ><
  ขอบคุณคุณ Thanabat Pratueangchaisri ที่กล่าวชมบล็อกของอะยะและให้กำลังใจอะยะนะคะ ค่ะ อะยะจะตั้งใจศึกษาภาษาญี่ปุ่นต่อไปนะคะ และก็ หวังว่าบล็อกนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาหรือไขข้อสงสัยภาษาญีปุ่นให้คุณ Thanabat Pratueangchaisri ได้นะคะ
  ขอบคุณคุณ Physn Wiggin นะคะที่เข้ามาชมมาอ่านบล็อกของอะยะ แสดงความเห็นที่น่าสนใจ รวมถึงทั้งทิ้งคำถามที่น่าศึกษาเอาไว้ให้ อะยะได้ไปหาคำตอบมาให้แล้วนะคะ^^ ขอโทษที่ช้านะคะ
    คำถาม: 顧客(こきゃく) กับ 客さん(きゃくさん) นั้นต่างกันอย่างไร?
    คำตอบ: อะยะได้ไปหาข้อมูล คำตอบ ครุ่นคิดมามากมาย ได้รวมๆมาดังนี้ค่ะ(ขอขอบคุณเว็บ http://nexal.jp/blogs/2528.html |และ http://m.chiebukuro.yahoo.co.jp/detail/q1062992680 )
              1)顧客 เป็นภาษาที่ไม่(ค่อย)ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็น固い言葉เมื่อเทียบกับ客さん นิยมใช้เขียนใน 文章表現(บทความ ข้อความ?)
              2)顧客 ใช้กับลูกที่มารับบริการ (サービス的) ส่วน 客さん ใช้กับลูกค้าทางธุรกิจ (マーケティング的)
              แล้วเหตุผลคืออะไรกันนะคะ ถึงแบ่งออกมาเป็นข้อแบบนี้ จากที่อะยะศึกษาและตีความก็ได้ประมาณนี้ค่ะ 
              คือว่า ในแง่ความหมาย คำว่า 顧客 นั้นประกอบจากคำว่า 顧みる(かえりみる) ที่แปลว่า ย้อนมอง หวนมอง/คิด กับ 客 ที่แปลว่า ลูกค้า ประกอบกับคำอธิบายที่ว่า มีความหมายว่า リピート客 แล้ว คำว่า 客さん มีความหมายว่า 引取りに関係ない(ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าขาย) 一見さん (ขาจร) ดังนั้นจึงทำให้อะยะตีความได้ความการใช้ 客さん น่าจะใช้ได้กว้างขวาง ครอบคลุม แค่คนที่เดินเข้ามาในร้าน เดินผ่านร้าน หรืออาจรวมไปถึงลูกค้าที่มาอุดหนุนด้วยก็เป็นได้ แต่ 顧客 หมายถึงลูกค้าที่แวะเวียนมาอุดหนุน เคยมาอุดหนุน ต่อคิวซื้อของจ่ายเงิน ก็น่าจะใช้คำนี้ได้หมดเลยค่ะ
  ขอโทษคุณ Physn Wiggin นะคะที่อะยะอธิบายไม่เก่ง แต่อะยะพร้อมจะหาคำตอบมาอธิบายให้เข้าใจจนได้นะคะ มีอะไรทิ้งข้อความในกล่องความเห็นไว้ได้นะคะ^^
    

คดีนี้"ทุกคนเห็นนะ!"

  เพื่อนๆทุกคนคะ เพื่อนๆเคยดูการ์ตูนญี่ปุ่นแล้วสังเกตชื่อตอนต่างๆบ้างไหมคะ แม้จะเป็นประโยคสั้นๆ แต่ก็เป็นภาษาญี่ปุ่นใช่ไหมคะ?^^ ฟังอย่างนี้ทุกคนคงรู้แล้วสินะคะว่าอะยะจะสังเกตไหม? ค่ะ อะยะสังเกตค่ะ!ตอนนี้อะยะเริ่มหูกระดิกทุกครั้งที่ได้ยินรูป ている ていた ていく てくる ไปแล้วล่ะค่ะ ▽≧x≦▽
  ค่ะ แล้ว คราวนี้อะยะสังเกตอะไรได้มาอย่างนั้นหรือคะ? อะยะชอบดูโคนันค่ะ ชื่อตอนของการ์ตูนเรื่องนี้ มักจะเกี่ยวข้องกับคดี บังเอิญชื่อตอนคราวนี้ ที่แปลว่า "ทุกคนเห็น!(คดี)" นั้น พออะยะได้ยินแล้วก็นึกติดใจขึ้นมาค่ะ ว่าถ้าอะยะยังไม่เฉลยชื่อตอนที่เป็นภาษาญี่ปุ่น แล้วเอาชื่อตอนนี้ถามเพื่อนๆ จะแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นให้อะยะว่าอะไรนะคะ?
  
  เพื่อนๆจะแปลชื่อตอนภาษาไทยที่ว่า "ทุกคนเห็น!(คดี)" เป็นชื่อตอนภาษาญี่ปุ่นว่าอะไรคะ?
 1)みんなが見る!
 2)みんなが見ている!
 3)みんなが見た!
 4)みんなが見ていた!
  แหะๆอะยะมีตัวเลือกมาให้ด้วย^^
  
  ถ้าอย่างนั้นแล้ว มาค่อยๆคิดคำตอบไปกับอะยะกันนะคะ เพราะว่าเนื้อหาในตอนเป็นเรื่องที่เกิดไปแล้ว คดีความได้เกิดขึ้นแล้ว ตัวเอกทุกคนเห็นเหตุการณ์ทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องอดีตไปแล้ว ดังนั้น...จะไม่สามารถตอบข้อ 1) กับ 2) ได้ใช่ไหมคะ
  แล้วจะตอบข้อ 3) หรือ 4) กันนะคะ งั้นมาดูข้อ 3) และ 4) กันค่ะ เหมือนกันตรงที่แสดงสภาพการณ์ที่เป็นอดีตทั้งคู่ใช่ไหมคะ แล้วจะเลือกตอบอันไหนกันดีนะคะ
เพราะว่าชื่อตอนต้องการบอกให้รู้ถึงเนื้อหาคร่าวๆในตอนว่าเห็นเรื่องราวของคดี "คดี" เป็นเหตุการณ์ แล้วเหตุการณ์ก็เป็นสิ่งที่เกิดในช่วงเวลาหนึ่งใช่ไหมคะ ดังนั้นถึงภาษาไทยแปลว่า"เห็น" แต่ถ้าจะบอกเป็นภาษาญี่ปุ่นก็จะต้องใช้รูปที่แสดงสภาพการณ์ต่อเนื่องในอดีต ซึ่งก็ตรงกับข้อ 4) นั่นเองค่ะ ถ้าตอบข้อ 3) มันก็มีความหมายว่าเห็นในดีตเหมือนกัน แต่แค่บอกว่าเห็นคดีเกิด แต่ไม่ได้หมายความว่าเห็นคดีตั้งแต่ต้นจนจบใช่ไหมล่ะคะ ถ้าหากแค่บอกว่าเห็นผู้ร้าย อะไรอย่างนี้ อะยะก็คงจะตอบข้อ 3) ค่ะ^^
  ถ้าเพื่อนๆยังไม่เข้าใจ อะยะแนะนำให้ดูโคนันตอน「みんなが見ていた!」ดูค่ะ อะยะคิดว่าถ้าเพื่อนที่สงสัยเห็นได้ชมแล้ว จะเข้าใจว่าทำไมถึงต้องตอบข้อ 4) ค่ะ^^

2014年2月10日月曜日

ตัวอย่างเพิ่มเติมจ้า^^

  เพื่อนๆยังจำอะยะได้ไหม อะยะหายไปนานไม่ได้ไปไหน ไม่ได้ขี้เกียจอัพนะ(แก้ตัว? (T_T)) อะยะพูดจริงๆ อะยะโดนกองการบ้านดูดเข้าไป เพิ่งโผล่ออกมาได้นิดหน่อยค่ะ
  แล้ว..เพื่อนๆจำที่อะยะอัพคราวก่อนได้ไหม เรื่อง
「ああ!全て顧客がなくなっている!」ว่าทำไมกันนะถึงไม่ใช้รูปなくなりました。อะยะได้เอาเรื่องนั้นไปถามและมาอธิบายให้เพื่อนฟังไปแล้วรอบนึง แต่ว่าอะยะก็เข้าใจความด้อยในการอธิบายดี ดังนั้นวันนี้อะยะจึงจะขอนำตัวอย่างที่ได้มากจากอาจารย์ในคาบเรียนวันนั้นมาให้ดูเพิ่มเติมในวันนี้^^
   ถ้าเพื่อนจะบอกขอโทษอาจารย์เกี่ยวกับการส่งการบ้านเลยกำหนด อยากจะบอกว่าวันที่จะส่ง"ได้เลยกำหนดการส่งรายงานมาแล้ว" เพื่อนๆจะพูดแบบไหนคะ แบบนี้ไหมคะ「レポートの提出日が過ぎました。」หรือว่าแบบนี้「レポートの提出日が過ぎていました。」คะ อะยะเคยอธิบายไว้แล้วใช่ไหมคะว่า ถ้าจะใช้รูป た ก็หมายความว่าเหมือนเกิดขึ้น ณ จุดนั้น พูด ณ จุดนั้น เพราะสำหรับคำกลุ่มนี้เป็นคำที่เหลือสภาพไว้ ดังนั้นหากเวลามันผ่านเลยมาแล้ว จะพูดรูป た มันก็กระไรอยู่^^
  ใช่แล้วค่ะ คำตอบที่ถูกต้องสมควรพูดนั่นก็คือ... 「レポートの提出日が過ぎていました。」ค่ะ เหตุผลก็อย่างที่อธิบายนั่นแหละค่ะ เพื่อนๆจะยังสงสัยอยู่ไหมนะคะ อะยะจะพยายามหาตัวอย่างมาให้นะคะ^^ รอนะ^^

タスク6:メール(お礼)

田中 先生

 こんにちは、田中先生。私は先生の「日本の文化2」という科目を履修している日本語の専攻の大学生で、パッタマーと申します。
 昨日はご馳走になりまして、本当にありがとうございました。とても美味しかったです。また、先生に日本の面白そうな文化や日本の色々な観光地なども教えていただき、大変ありがたかったです。
 もしも、昨日は礼儀も知れず、失礼がありますれば、お許してください。
 これからも先生の授業を頑張って勉強し続け参ります。
 今後も宜しくお願いいたします。

パッタマー

タスク5:メール(お詫び)

ครั้งที่1
田中さとし先生

こんばんは、さとし先生。私は先生の「日本の歴史」という科目をお習いしておる日本語の専攻の大学生です。
おととい提出締め切りの宿題のことなのですが、締め切りのまでに宿題を提出することができなくて、申し訳ございません。実は先週の月曜日、先生の宿題をいただいた後、帰り道途中私は原因を知らずに高熱で癲癇になりました。その日から昨日まで失神ておりました。昨日は意識を回復しましたので、できる限りに早めに先生の宿題をいたしました。遅くお送りいたして、申し訳ございませんが、よろしくお願いいたします。

パッタマー シャットソンティラック
5440121622

iPhoneから送信

反省:
1.คำถ่อมตนยกย่องยังเลือกใช้ไม่ค่อยเก่ง ใช้ผิดๆถูกไม่เป็นไปตามที่ใจต้องการ เช่น お習いしておる
2.คำศัพท์ที่เหมาะสม ที่ควรใช้เวลาคุยกับอาจารย? หรือในการเขียนอีเมล์ขอโทษ ยังแบ่งใช้ได้ไม่คล่อง
3.ประกอบคำขึ้นใช้เองมั่ว - -* เช่นคำว่า できる限りに早めに〜
4.เป็นเนื้อหาที่พูดแต่เรื่องขอตัวเองไม่ถามความสะดวก ความคิดเห็นอาจารย์
先生と日本人からコメント:
1.お習いしておる>>>履修している
2.できる限りに早めに>>>できるだけ早く
3.ไม่ถามความสะดวก ความเห็นของอาจารย์ก่อนว่าส่งได้ไหม ควรถามอาจารย์ก่อน
4.แนะนำตัวไม่บอกชื่อ บอกรหัส แต่กลับเอารหัสอยู่ข้างล่าง


ครั้งที่ 2 
レポートの提出限定に遅れのお願い
田中先生

  こんにちは。田中先生の「日本の文化2」という科目を受け取っている日本語先行の大学生、パッタマーと申します。
  レポートの提出のことなのですが。提出期限は1月30日になっていますが、締め切りのまでにレポートを提出することができなく、深くお詫び申し上げます。実は私は先週の火曜日からインフルエンザにかかって、一昨日まで高熱なのでした。このようにその期間はレポートをできませんでした。
  しかし、一昨日はインフルエンザが治りましたので、できるだけ早くレやりかけのポートを書き上げました。
  全ては私、パッタマーの気の緩みが指いたことでありますが、せめて提出だけでもしたいと思いまして、このメールと添付してお送り致します。二度と同じ過ちを繰り返さないように厳しく自戒しますので、お受け取っていただけないでしょうか。
  本当に申し訳ございません。
  宜しくお願い致します。

パッタマー

先生からコメント:
เปลี่ยนจาก締め切りのまでに>>>締め切りまでに

2014年1月26日日曜日

「ああ!すべて顧客がなくなっている!」???

 สวัสดีค่ะ เพื่อนๆคะเคยเล่นเกมส์ที่เป็นเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นกันไหมคะ>< ถ้าเคย เคยสงสัยในบางคำพูดของเกมส์บ้างไหมคะ เช่นว่า ทำไมพูดแบบนี้ ไม่พูดแบบนี้? วันนี้อะยะจะมาพูดถึงข้อสงสัยจากกรณีดังกล่าวค่ะ
 เมื่อวันก่อนอะยะเล่นเกมส์ๆหนึ่งที่ต้องบริการลูกค้าใหัทันใจ แต่อะยะบริการช้าไปลูกค้าจึงพากันกลับบ้านไปหมดเลยค่ะ ทุกครั้งที่ลูกค้าลาจากกันไปแบบนี้ ระบบก็จะขึ้นมาว่า「ああ!全て顧客がなくなっている!」(อ๊า! ลูกค้าหายไปหมดแล้ว) แต่ว่าเอ๊ะอะยะสงสัยว่าทำไมต้องเป็น 〜なくなっている ทำไมไม่ใช้รูปอดีตเป็น 〜なくなりました。กันนะ
 อะยะได้เก็บข้อสงสัยดังกล่าวไปหาคำตอบโดยการสอบถามความเห็นคนญี่ปุ่นมาค่ะว่าคิดว่าทำไมต้องพูดว่า 〜なくなっている เขาอธิบายว่าน่าจะเป็นเพราะว่า なくなっている ให้ความรู้สึกอธิบายถึงอดีตมากกว่าค่ะ ซึ่งในตอนแรกอะยะก็งงอยู่ว่าถ้าอยากใช้รูปอดีตทำไมไม่ใช้รูปไวยากรณ์อดีตไปนะ>< จึงขอให้อธิบายเพิ่มเติมให้ค่ะ
 ได้ความว่า การใช้รูป 〜なくなっている อธิบายให้เห็นว่าลูกค้ากลับไปหมดแล้ว แล้วที่เห็นรับรู้อยู่ปัจจุบัน ก็ไม่มีลูกค้าอยู่แล้ว พูดด้วยรูปนี้แล้วจะเห็นภาพได้อย่างนี้นี่เองค่ะ น่าจะแปลได้ประมาณว่า "อ๊า~ ลูกค้า(ได้)กลับไปหมดแล้ว"เป็นการบอกให้เห็นสภาพตามไวยากรณ์เค้าด้วยนั่นเองค่ะ
 แต่ถ้าเป็น なくなりました เหมือนประมาณแค่พูด ณ จุดเวลาที่เกิด ถ้าให้ประมาณเอาก็น่าจะอุทานของไทย(หรือเปล่านะคะ) ประมาณว่า "อ๊ะ ลูกค้ากลับไปหมดแล้วล่ะ" 
 เพื่อนๆจะเข้าใจไหมนะคะ ขอโทษที่อะยะอธิบายไม่เก่งค่ะ ตอนนี้หลายภาษาตบกันในหัวอะยะแล้วล่ะค่ะ ขออะยะไปนั่งสมาธิก่อนนะคะ แล้วเจอกันใหม่ค่ะ^^

2014年1月11日土曜日

メールを書き方

ครั้งที่1
山内 修二様
 こんにちは、山内さん。私はパッタマーと申します。趣味はフラミンゴギターです。もう5年ほどレッスンを受けていて、将来はフラミンゴ舞踊の伴奏として仕事をしたいと思っています。昨日の夜はたまたま山内さんのホームページをはいけんすると、「すばらしいギタリストだと思って、ぜひ個人レッスンを引き受けていただきたい」と思いいたしました。山内さんの答えを伺いため、このメールをお書きいたし、遅らせていただきました。ご迷惑をおかけして、申し訳ございません。宜しくお願いいたします。
                                            パッタマー

ข้อเสนอแนะติชมจากเพื่อน:
1.คิดว่าขึ้นต้นว่า「こんにちは、山内さん。」มันดูสนิทกันเกินไป เหมือนรู้จักกันแล้ว
2.อาจจะควรถามรายละเอียดเกี่ยวกับคอรส์เรียนเพิ่ม เช่น รับสอนวันไหน สอนครั้งละกี่ชั่วโมง ฯลฯ
3.พอบอกว่าเราอยากเรียนกับเขาอาจจะถามว่า เราต้องทำอย่างไรบ้าง มีการเตรียมอะไรบ้าง ฯลฯ
4.ใช้敬語ได้สุดยอดมาก
5.แนะนำตัวเอง(เพิ่ม)ด้วยก็อาจจะดีนะ^^
#ขอบคุณสำหรับคอมเมนต์จากเพื่อนค่ะ

ข้อเสนอแนะสอนแนวทางจากอาจารย์:
1.เพราะเขาเป็น先生(ด้วย?)จึงควรเปลี่ยนจากคำว่า様เป็น先生
2.เพราะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน และเขามีอายุที่มากกว่าและเป็นอาจารย์(สถานภาพสูงกว่า)จึงควรใช้คำพูดว่า突然メールを差し上げる(/お送りする)失礼をお許しください。มากกว่าที่ใช้พูดว่าこんにちは
3.ใช้「〜引き受けていただきたい」ผิด(ไม่เหมาะสม)
4.ไม่มี「お書きいたし」(ผันแปลก เพราะปกติแล้วคำกริยาสั้นๆอย่าง 書く 食べる 読む ไม่ผันรูป お〜する)
5.ไม่จำเป็นต้องขอโทษถึงขนาดต้องใช้คำว่าご迷惑をおかけして、申し訳ございません。
6.คำว่า宜しくお願いいたします。สมควรมีแล้ว^^
7.คนญี่ปุ่นจะไม่ขอบคุณก่อนการทำความเข้าใจจะเกิดขึ้นต่อทั้ง2ฝ่าย(ไม่ขอบคุณล่วงหน้าเองทั้งๆที่เขายังไม่รับรู้หรือตกลง เพราะมันเป็นการตัดสินใจไปเอง)
8.ห้ามใช้追伸(ปล.)
9.บอกข้อมูลที่จำเป็น ไม่บอกข้อมูลที่อีกฝ่ายรู้อยู่แล้วหรือไม่เกี่ยวข้อง(ข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องบอก)
10.จดหมายควรแบ่งเป็น2ย่อหน้าขึ้นไป(3ก็จะดี คือ เกริ่น เนื้อหา และสรุป) และหากเนื้อหาเปลี่ยนก็ขึ้นย่อหน้าใหม่

内省:เนื่องจากเป็นการเขียนจดหมายในสถานการณ์ขอร้องเป็นครั้งแรก และนอกจากนนี้อีกฝ่ายยังเป็นคนที่มีสถานภาพสูงกว่า เป็นอาจารย์ที่เป็นนักกีตาร์มีชื่อเสียงและไม่เคยรู้จักเรามาก่อน ทำให้อะยะสับสนมากๆว่าควรเขียนอย่างไรดี ที่จริงอะยะก็อยากสอบถามข้อมูลอีกฝ่ายมากกว่านี้ตามที่เพื่อนแนะนำ เช่น อาจารย์ว่างไหม ขอโทษที่เขียนมาขอร้อง อาจารย์พอจะว่างไหม อาจารย์คิดค่าเรียนเท่าไหร่ เราจะบอกไปได้ไหมว่าเราไม่สะดวกอะไรบ้าง แต่ว่าเพราะอะยะไม่รู้ว่าควรเขียนอย่างไรดีจึงจะเหมาะสม และกลัวเขียนผิด เสียมารยาท จึงเลิกคิดที่จะเขียนไปแล้วเลือกเขียนเฉพาะเท่าที่มั่นใจเท่านั้น เพราะคิดว่าแม้การลองผิดลองถูกเป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าถ้าอีเมลล์ที่เขียนนั้น คิดจริงๆว่าต้องส่งไปล่ะก็ อะยะก็คิดว่ามันไม่สมควรที่จะทำลงไป แต่ทั้งนี้อะยะก็มีความคิดที่ขัดแย้งอย่าง มันเป็นภาษาที่สุภาพจนเกินไปไหมนะ สังเกิดว่าได้ว่าในเนื้อความอีเมลล์อะยะเรียกอีกฝ่ายใช้แค่ さん ไม่ใช้ 様 เหมือนหัวจดหมาย อีกอย่างจากความคิดเห็นของเพื่อนก็ได้บอกเอาไว้ด้วยว่า มันเป็นภาษาที่ใช้รูปยกย่องสุดๆ ดังนั้น ด้วยความลังเลสับสนต่างๆอีเมลล์ของอะยะเมื่อเทียบกับของเพื่อนๆของอะยะจึงสั้นมากๆ
ป.ล.จากก่อนหน้านี้ที่อะยะพูดเรื่องความต่างของ てきました กับ ていました อะยะจะเอาความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการเขียนแก้ครั้งที่ 2 ด้วยค่ะ

ครั้งที่2
山内修二 先生

 突然メールを差し上げる失礼をお許しください。パッタマーと申します。

 先生のホームページを見て、先生の個人コースをぜひ受けたいと思いいたしました。レッスンを受けるかどうかお尋ねたいと思いいたします。

 私は5年ほど前から家の近くのあるフラミンゴクラブで毎日一時間フラミンゴギターのコースを受けてきました。将来はフラミンゴ舞踊の伴奏家として仕事ができればと思っております。

  先生と個人レッスンを受けたことのあるタオファイさんに相談したところ、先生のコースを受ければどうかというアドバイスをいただきました。

  ただ、私は3年生になってから、毎日家から遠い大学の授業を6時まで受けていますので、土曜・日曜の午前8時以降しかレッスンに通えません。お手数ですが、レッスンを受けていただけるかどうか、お知らせいただけないでしょうか。日時を指定していただければ、先生のところにご相談に伺わせていただきます。

 お返事は急ぎませんが、どうぞ宜しくお願いいたします。

                                            パッタマー

คอมเมนต์และข้อเสนอแนะ/คำแนะนำจากอาจารย์ค่ะ
1.思いいたすไม่มีใช้=ผิด ดังนั้นใช้แค่ 思います ก็พอ(ตอนที่ใช้ไปเพราะคิดว่าอยากให้สุภาพมากเลยลองใช้รูปนี้ดูค่ะ)
2.ไม่ควรใช้どうか เหมือนแสดงว่าอ.ที่เราติดต่อเมลล์ไปหาเป็นเพียงตัวเลือกหนึ่ง ซึ่งเป็นการไม่ให้เกียรติท่าน(ในตอนแรกคิดว่าเพราะเป็นรูปประโยคแบบนี้ จึงน่าจะใช้ได้ค่ะ><;)
3.毎日家から遠い大学の授業を6時まで受けています >>>ควรแบ่งเป็น2ประโยค นอกจากนี้การบอกว่า 家から遠い ดูเป็นข้อมูลที่จำเป็น ถ้าจะบอกควรบอกให้ดูเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักกว่านี้

#ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของอาจารย์มากๆนะคะ จะศึกษาและจดจำคำแนะนำและขอนำไปปรับใช้ในครั้งที่3ค่ะ

ครั้งที่3
山内修二 先生

 突然メールを差し上げる失礼をお許しください。パッタマーと申します。

 先生のホームページを見て、先生の個人コースをぜひ受けたいと思いました。レッスンを受けるかどうかお尋ねたいと思います。

 私は5年ほど前から家の近くのあるフラミンゴクラブで毎日一時間フラミンゴギターのコースを受けてきました。将来はフラミンゴ舞踊の伴奏家として仕事ができればと思っております。

  先生と個人レッスンを受けたことのあるタオファイさんに相談したところ、山田先生のレッスンを紹介していただきました。

  ただ、私は3年生になってから、平日は大学の授業が6時まであります。大学は郊外にあるため、移動することはむずかしいと思います。したがって、土曜・日曜の午前8時以降しかレッスンに通えません。お手数ですが、レッスンを受けていただけるかどうか、お知らせいただけないでしょうか。日時を指定していただければ、先生のところにご相談に伺わせていただきます。

 お返事は急ぎませんが、どうぞ宜しくお願いいたします。

                                            パッタマー

2014年1月7日火曜日

て形+きました VS て形+ていました

 เมื่อวานนี้ตอนอะยะเรียนการเขียนอีเมลล์ภาษาญี่ปุ่นเพื่อขอร้องอะไรบางอย่าง(เกี่ยวกับส่วนดังกล่าวอะยะจะมาอัพอีกทีนะคะ)อะยะก็ได้แอบสังเกตเห็นเนื้อหาที่น่าสนใจที่คิดว่าเกี่ยวกับ アスペクト ค่ะ นั่นก็คือเรื่องความต่างของ て形ที่ตามด้วยきました กับ ที่ตามด้วยていました
 เพื่อให้เข้าใจง่าย อะยะขอยกเอารูปประโยคที่เรียนมาจากอาจารย์ผู้สอนมาพร้อมคำอธิบายนะคะ 
1.てきました-5年ほどギターのコースを受けてきました。
2.ていました-5年ほどギターのコースを受けていました。
 ทั้ง 2 ประโยคดังกล่าวนี้ ถ้าแปลเป็นไทยแล้ว อะยะคิดว่าคงทำให้เข้าใจผิดได้ เนื่องจากสามารถแปลได้ว่า "เรียนกีตาร์มาประมาณ5ปีแล้ว"
 แต่ความต่างของมันก็คือ แบบที่ 1 ให้ความหมายว่าผู้พูดเรียนมาตลอดจนถึงตอนนี้ก็ยังเรียนอยู่ ส่วนแบบที่ 2 ให้ความหมายว่า เรียนมาตลอด5ปีและก็หยุดเรียนไปแล้ว ค่ะ
 ตามความเข้าใจของอะยะพูดง่ายๆก็คือ てきました จะให้มุมมองของการกระทำที่ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน แต่ ていました นั้นจะให้มุมมองความต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งและเสร็จไปแล้วนี่เองค่ะ
 อะยะคิดว่าการใช้ภาษานั้นเกี่ยวข้องกับความรู้สึกมุมมองของผู้ใช้อย่างมาก ดังนั้นจึงต้องพิจารณาและตีความ アスペクト ก็เช่นกันค่ะ มาพยายามทำความเข้าใจไปด้วยกันนะคะ ▽^ェ^▽

2014年1月6日月曜日

「日本人にチェックして、教えてくれた作品」

△=自分の
〇=日本人の
 
△「BTSチョンノンシ駅からチュラーロンコーン大学文学部BRKビルまでの行き方」
この行き方は、サヤーム駅に着いたら、チュラー大のシャトルバスに乗り、BRKビルで下車する行き方なのです。初めてチュラー大に行く人ならば、この行き方が一番便利だと思います。
 
〇「BTSチョンノンシ駅からチュラーロンコーン大学文学部BRKビルまでの行き方」
この行き方は、サヤーム駅に着いてから、チュラー大のシャトルバスに乗り、BRKビルで下車する行き方です。初めてチュラー大に行く人なら、この行き方が一番便利だと思います
 
 
△まず、BTSチョンノンシ駅で「สยาม•Siam(サヤーム)」という駅までのチケットを買ってください。(サヤーム駅の近くにはチュラー大のシャトルバスの乗り場が二つもあります。)改札口にに入ると、「National Stadium 」という看板に従って、ホームを目指し、乗車してください。この電車は「ศาลาแดง・Sala Daeng(サーラーデーン)」駅、「ราชดำริ・Ratchadamri(ラーチャダムリ)」駅、それから「สยาม・Siam(サヤーム)」駅で止まります。
 
〇 まず、BTSチョンノンシ駅で「สยาม•Siam(サヤーム)」という駅までのチケットを買ってください。(サヤーム駅の近くにはチュラー大のシャトルバスの乗り場が二つあります。)改札口に入ると、「National Stadium 」という看板に従ってホームを目指し、乗車してください。この電車は「ศาลาแดง・Sala Daeng(サーラーデーン)」駅、「ราชดำริ・Ratchadamri(ラーチャダムリ)」駅、それから「สยาม・Siam(サヤーム)」駅で止まります。
 
 
△次に、サヤーム駅で下車した後、「Exit6」に従って、改札口を出てください。そうすると、生面ピンクの「KARMART」という店が見えます。右折すれば、二つの下へ降りる階段が見えます。左側の階段はちょっと面倒だと思いため、右側の階段を降りてほしいです。階段を降りきったら、左折し、直進してください。まもなく右側に「Boots」という真っ青な看板が見えます。そこで、右折し、もう少し直進すると、バス停が見えます。そこのバス停には座席もあって、後ろにはセブンイレブンがあるのです。
 
〇次は、サヤーム駅で下車した後、「Exit6」に従って、改札口を出てください。そうすると、正面にピンクの「KARMART」というお店が見えます。そのお店を右折すると、下へ降りる階段が二つあります。左側の階段を使って行く方法はちょっと面倒なので、右側の階段を降りて行きます。右側の階段を降りきったら、左折し、直進してください。そうすると。まもなく右側に「Boots」という青いな看板が見えます。そこで、右折し、もう少し直進すると、バス停が見えます。そこのバス停には座席もあって、後ろにはセブンイレブンがあります。
 
△そこが大学行きのシャトルバスのバス停です。チュラー大のシャトルバスがこのバス停で止まります。チュラー大のシャトルバスの色はピンクで、シャトルバスの前の窓にはバスの番を表す小さい看板があるのです。乗車しなければならないのは「1番」それとも「4番」のシャトルバスです。「1番」と「4番」のシャトルバスならばどれでも、BRKビルで止まります。でも、おすすめのは「1番」なのです。なぜかというと、「4番」のシャトルバスは遠回り道でBRKビルに行きますからです。というわけで「1番」のシャトルバスに乗ってほしいのです。シャトルバスが来たら、乗車してください。
 
 
〇そのバス停が大学行きのシャトルバスのバス停です。チュラー大のシャトルバスはこのバス停で止まります。チュラー大のシャトルバスの色はピンクで、シャトルバスの前の窓にはバスの番号を表す小さい看板があります。乗車しなければならないのは「1番」か「4番」のシャトルバスです。「1番」と「4番」のシャトルバスならばどれでも、BRKビルで止まります。でも、おすすめは「1番」のバスです。なぜかというと、「4番」のシャトルバスは遠回りでBRKビルに行きます。というわけで「1番」のシャトルバスで行く方法がおすすめです。
シャトルバスが来たら、「1番」のシャトルバスに乗車してください。
 バスに乗ると5分ぐらいで、チュラロンコン大学の正門に入ります。左手には並んでいる各学部のビルが見えます。門に入って二つ目のバス停が見えれば、自動扉のそばにある小さくて、丸いボタンを押して、降りてください。右手、バス停のななめ側に小さいセブンイレブンがあります。そのバス停の後ろの一番近くの白いビルがBRKビルです。ビルの前には「อาคารบรมราชกุมารี」と書いています
以上が「BTSチョンノンシ駅からチュラーロンコーン大学文学部BRKビルまでの行き方」
です。

内省:ในที่นี้อะยะขอพูดในเชิงความแตกต่างของการใช้ที่อะยะผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่2กับการใช้ของผู้เป็นเจ้าของภาษาค่ะ^^
1:ตอนที่อะยะพูดแนะนำว่าวิธีเดินทางที่แนะนำต่อไปนี้เป็นแบบไหน อะยะเขียนไว้ว่า ~行き方なのです。แต่จากที่ได้รับการแนะนำมานั้น ดูเหมือนว่าคนญี่ปุ่นจะหลีกเลี่ยงใช้รูป ~のです。ที่อะยะใช้ไปนั้นเพราะอยากจะบอกในเชิงเน้นย้ำให้เข้าใจแจ่มชัดว่า วิธีการที่แนะนำเป็นแบบไหน แต่จากการคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงนั้น คิดว่าบางทีอาจเป็นเพราะว่าดูเป็นเรื่องไม่สมควร แสดงถึงการอวดรู้เกินไปก็เป็นไปได้ค่ะ

2:ตอนที่อะยะอยากให้ผู้อ่านคำแนะนำทำอะไรอะยะใช้รูปแบบคำว่า 〜てほしいです。ไปเลยแต่พอลองศึกษาวิธีการขอให้ทำตามของคนญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นจะพยายามหลีกเลี่ยงการขอให้ทำตามตรงๆ จะอธิบายเหตุผลอย่างละเอียดสุภาพชัดเจนแทน คือ 左側の階段を使って行く方法はちょっと面倒なので、右側の階段を降りて行きます。สังเกตว่าจะอธิบายว่า"ถ้าใช้บันไดด้านซ้ายมือจะวุ่นวาย จึงลงบันไดฝั่งขวามือ" นอกจากนี้ยังเห็นได้ว่าไม่ใช้กริยาที่เกี่ยวข้องกัลอีกฝ่าย(ผู้อ่านคำแนะนำ)แต่ใช้เชิงเล่า จากมุมมองของอะยะจังเหมือนกับเขากำลังบอกว่าในความคิดเขาเป็นอย่างไรเขาตัดสินใจอย่างไร บอกเป็นนัยให้อีกฝ่ายทำตาม

2014年1月5日日曜日

タスク2。1

面白く説明してみて!!!

เรื่องที่1


秘密1:

私:ね、ね、フォンちゃん、昨日私は、えーと、面白いドラマを見たんだよ。えーと。。えーと、あるとっても綺麗な女性の話なんだ。えーと、その人はとっても綺麗なんだけど、本当はその人は整形美人なんだ。えーと、その女の子の名前は。。えーと、富士子、富士子だよ。で、そのおかげで、整形をしたのおかげで、えーと、優しくて、素敵な彼氏ができたんだ。で、彼の名前はシャブーシ君。シャブーシ君は。。えーと、富士子が、。。えーと、この二人の人がデートをしていたんだ。で、富士子がおしっこしたいと思って、トイレへ行って、カバンをシャブーシ君に預けたんだ。えーと、なんか、えーと、シャブーシ君は富士子の中何か入れているのか、いったい知りたかったン。。えーと、知りたかって、富士子のカバンをこっそり見たんだ。で、えーと、富士子が気の緩みから、昔の写真をシャブーシ君に見られちゃって、えーと、整形したことがばれちゃって、大ピンチだと思ったんだ。でも、たとたん、シャブーシ君が「なんだそのこと気にしなくてもいいのに。。」といってだって、それから、パッ、カツラを取って、僕もこんなだし。。。」といったんだ。えーと、富士子がショックして、「あが。。。」と言って、走って行ったんだ。。

内省ในการอธิบายครั้งนี้ หากพิจารณาตามความซื่อสัตย์แล้ว อะยะคิดว่ามันอาจจะมองดูเหมือนว่าอะยะทำได้ดี มีการใช้คำศัพท์น่าสนใจ แต่อันที่จริงแล้ว นั่นเป็นเพราะภาพที่ได้รับมีการใช้คำอธิบายอยู่มากนั่นเอง เป็นสิ่งที่น่าคิดว่าหากให้อะยะนึกคำศัพท์เองจะทำได้เท่านี้ไหม อนึ่ง อาจเป็นเพราะอะยะเป็นคนขี้ตื่นเต้นและขี้ลืม แต่อย่างไรก็ตาม อยากจะทำด้วยตัวเองให้ได้ดีกว่านี้ เพราะภาษาไม่ได้มีเพียงแต่การเขียน และใช่ว่าการเขียนทุกครั้งจะมีเวลาให้นั่งค่อยๆคิดเสมอไป จะใช้ภาษาให้เก่ง ต้องคล่องแคล่วและถูกกต้องกว่านี้ เพื่อให้การเล่านั้นเนื้อหามีความเป็นธรรมชาติและสนุกกว่านี้ อะยะคิดว่าควรใช้ アスペクト 擬音語 擬態語 มากกว่านี้ ถ้าอะยะสามารถนำมาใช้ เรื่องก็จะเห็นภาพละเอียดขึ้น ผู้ฟังก็จะสามารถจินตนาการเสียงประกอบท่าทางตามที่ผู้เล่าคิดได้ การเล่าเรื่องคงน่าสนใจมากกว่านี้ อะยะยังใช้สิ่งเหล่านี้ได้ไม่คล่องและดีพอ

จากการได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ อะยะขอพิจาณาเป็นข้อๆดังนี้นะคะ

1.デートをしていたんです。(話を語る)>>>เพราะตอนที่อะยะอธิบาย อะยะอยากจะบอกว่า หนุ่มสาวคู่นี้กำลังเดทกันอยู่ ซึ่งหมายความว่าเป็นการกระทำต่อเนื่องในช่วงหนึ่งของวัน อะยะจึงใช้รูป ている แต่ก็เพราะเป็นการเล่าถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว อะยะจึงผันเป็นรูปอดีต แต่อันที่จริงตามที่ถูกต้องแล้วแม้ว่าเป็นเรื่องในอดีต ในกรณีนี้ก็ไม่จำเป็นต้องผันเป็นรูปอดีตอีก ถ้าถามถึงเหตุผล อะยะพิจารณาว่าเพราะมันจะทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นเรื่องเกิดในตอนไหนกันแน่

2.中何か入れているのか ที่จริงอะยะต้องการจะพูดว่า มีอะไรใส่อยู่ข้างในบ้าง ดูเป็นประโยคที่ง่ายแต่ตอนเล่า ณ เวลานั้น อะยะก็ตกใจจนพูดผิดพูดถูกค่ะลืมแม้กระทั่งคำว่ากระเป๋าด้วย ถ้าจะพูดประโยคนี้ให้ถูกก็คือ 鞄の中に何が入っているのか

3.たとたん>>>ที่จริงอะยะต้องการจะพูดว่า"ทันใดนั้นเอง" ที่จริงตอนพูดอะยะก็ไม่มั่นใจว่าสามารถใช้คำนี้ได้ไหม แต่อะยะต้องการสื่อความหมายนี้ แล้วพอนึกถึงภาษาญี่ปุ่น คำที่ใกล้เคียงมี่สุดที่อะยะนึกออกตอนนั้นก็คือไวยากรณ์ 〜たとたん ที่แปลว่าพอทำ~ก็เกิดขึ้นทันทีค่ะ ถ้าจะให้อะยะพูดใหม่ ก็อยากใช้คำว่า するとค่ะ

เรื่องที่ 2 (เรื่องนี้เล่าได้ไม่ดี ไม่มีสีสันเท่าไหร่ค่ะ><)


飛行機1:

:フォンちゃん、昨日はね、えーと、私の兄が、えーと、カンボジアに行く予定だったですけれど、間に合わなかったんだ。で、でも、それは、えーと、運が良かったんですよ。えーと、乗れなかったこと。。えーと、それがね、えーと、兄が、えーと、最初は文句を何度も言ったんですけれども、えーと、家に着いて、テレビをついて、ニュースを見ると。。えーと、なんとショッキングニュースがありました。。あ。あ。あったんだ。それニュースはそのえーと、間に合わなかった飛行機がえーと、台風と合っちゃって、落ちちゃうんだ。。。えーと、。。。運が良かったんですよね。。

フォンちゃん:うん、良かったんですね。

内省:การเล่าเหตุการณ์เรื่องนี้ แม้ภาพประกอบของเรื่องนั้นมีเพียงแค่ ภาพและดูไม่ซับซ้อน แต่เอาเข้าจริงพออะยะเริ่มเล่าแล้วอะยะก็ได้รู้ว่ายังมีบางศัพท์ที่ไม่ทราบอีกมาก เช่น ขึ้นเครื่องบินไม่ทัน หรืออย่างกรณีที่จะอธิบาย เรื่อง เครื่องบินตก คำว่า “ตก ไม่แน่ใจว่าควรใช้คำว่า 落ちるไหม บางคำที่เป็นสำนวนที่เรียนไปแล้วก็นึกไม่ออก เช่น โชคดีในโชคร้าย 不幸中の幸いดังนั้นจึงใช้เพียงการอธิบายง่ายๆไปอย่าง 運が良かった ทั้งๆที่อะยะคิดว่าถ้าใช้สำนวนดังกล่าว จะอธิบายเนื้อหาเรื่องราวและสื่อความรู้สึกได้ดีกว่านี้ ส่วนคำช่วยนั้นบางครั้งทั้งที่รู้ว่าถ้าใช้ตัวนี้ผิดนะ แต่เพราะความลืมตัวหรือเร่งรีบเกินไปก็ไม่ทราบ อะยะก็กลับใช้ทั้งๆที่ผิดไป นอกจากนี้อะยะก็ดูเหมือนจะติดใช้คำว่า えーと อะยะใช้บ่อยมากๆ ไม่เพียงจะเป็นการสังเกตจากการฝึกฝนครั้งนี้ ครั้งๆอื่นก็เป็นเช่นกัน และที่สำคัญอะยะยังไม่ได้ใช้ アスペクトในการอธิบายเลย ทั้งๆถ้าที่ใช้ ข้าพเจ้าคิดว่าเนื้อเรื่องจะฟังแล้วทำให้นึกภาพตามได้ง่ายขึ้น เป็นธรรมชาติมากขึ้น จากการทำแบบฝึกหัดนี้ พอลองมองโดยภาพรวมอีกครั้งและนั่งทบทวนดีๆแล้วอะยะว่า ตัวอะยะเองต้องตั้งสติก่อนพูดให้ดีกว่านี้และฝึกพูดอธิบาย ฝึกใช้คำศัพท์และรูปไวยากรณ์ที่หลากหลาย อธิบายให้ละเอียดกว่านี้  

 คำศัพท์หรือรูปประโยคที่อะยะอยากสื่อออกไปแต่ก็ทำไม่ได้คือ..

1.เครื่องบินที่ขึ้นไม่ทัน

คำที่อะยะใช้:間に合わなかった飛行機

คำที่คิดว่าควรใช้:乗り遅れてしまった飛行機

2.เครื่องบินตก

คำที่อะยะใช้:飛行機が落ちちゃうんだ

คำที่คิดว่าควรใชั:飛行機が墜落してしまった

3.เปิดทีวี

คำที่อะยะใช้:テレビをつく

คำที่คิดว่าควรใช้:テレビをつける

(เนื่องจาก つく ที่แปลว่าเปิด เป็นคำอกรรมกริยา)

ความรู้เพิ่มเติมซึ่งเป็นศัพท์ที่อะยะสนใจและแนะนำคือ

窓から飛行機が飛んでいくのが見えました。

แปลว่า มองเห็นเครื่องบินขึ้นไปจากหน้าต่าง ^^