เพื่อนหลายคนคงจะเคยเรียน「ている」กับ「てある」เพื่อบอกสภาพการณ์มาบ้างแล้ว แล้วเพื่อนๆเคยสับสนในการใช้กับ「ておく」กันบ้างไหมคะ? ความหมายและหน้าที่ของแต่ละอันมันคืออะไรกันนะคะ มาดูที่สิ่งที่อะยะศึกษาได้มากันค่ะ
(ขอขอบคุณข้อมูล ความรู้จากเว็บ:http://m.chiebukuro.yahoo.co.jp/detail/q1018220910 และ http://www.nihongo2.com/speaking/16.pdf)
1.)「ている」:ทางテンスแล้วใช้บอกว่ากำลังดำเนินกริยาอะไรอยู่ เช่น ทานข้าวอยู่ อ่านหนังสืออยู่ ส่วนทาง アスペクトจะใช้ในการบอกสภาพของสิ่งของหรือสถานการณ์ทั่วไป เช่น ประตูปิดอยู่ ไฟเปิดอยู่ แอร์เปิดอยู่ [(何か)が+自動詞+ている]
2.)「てある」:เป็นアスペクトบอกสภาพการณ์โดยมีนัยความหมายแฝงว่า"มีใครบางคน"ได้ทำให้สิ่งนั้นๆเป็นสภาพการณ์ดังกล่าว เช่น เสื้อผ้าวางพับ(ไว้)อยู่บนโต๊ะ(โดยผู้พูดต้องการสื่อว่า*มีใครบางคนมาพับไว้(สังเกตได้จากบริบท ฯลฯ)) [(誰か)が+(何)を+他動詞(タ形)>>>(を>>が)>>>(何)が+他動詞+てある]
3.)「ておく」:เป็นアスペクトบอกสภาพการณ์ว่าทำสภาพทิ้งไว้ เตรียมไว้ เช่น วางหนังสือทิ้งไว้ เปิดแอร์ไว้(รอแขก) [(人)が+(何)を+他動詞+ておく(起こった状態>>>ておいた)]
สรุปความต่าง:「ている」และ「てある」เป็นการบอกสภาพที่เน้นที่"ผล" แค่บอกสภาพที่เห็นเท่านั้น แต่「ておく」บอกสภาพที่เน้นนัยยะ"ตระเตรียม" "คงสภาพการณ์" นั้นไว้
例:窓を開けました。
A:窓が開いている。(บอกสภาพของ"ประตู"ที่ถูกเปิดไว้เฉยๆ)
B:窓が開けてある。(บอกสภาพของ"ประตู"ที่ถูกใครบางคนเปิดไว้ "มีใครบางคนมาเปิดไว้"*(ดูโครงสร้างไวยากรณ์ข้างบนประกอบ))
C:窓が開けておいた。(บอกว่ามีใครสักคนตั้งใจเปิดประตู"ไว้"(ดูโครงสร้างไวยากรณ์ข้างบนประกอบ))
เพื่อนๆทุกคนเข้าใจไหมนะคะ~>< ถ้าไม่เข้าใจก็ทิ้งคำถามไว้กล่องข้อความได้นะคะ อะยะจะพยายามอธิบายให้เข้าใจค่ะ^^
0 件のコメント:
コメントを投稿