2014年2月16日日曜日

「ている」・「てある」・「ておく」どう違いますか。▽?^?▽

  สวัสดีค่ะ ช่วงนี้อะยะมาบ่อยจังเลย^^; อะยะกลายเป็นโฮ่งน้อยจำไมไปแล้วหรือเปล่านะคะ ว่าแต่วันนี้อะยะจะมาคุยเรื่องอะไรกันนะคะ~^^ ไปดูเนื้อหากันเลยค่ะ^^
  เพื่อนหลายคนคงจะเคยเรียน「ている」กับ「てある」เพื่อบอกสภาพการณ์มาบ้างแล้ว แล้วเพื่อนๆเคยสับสนในการใช้กับ「ておく」กันบ้างไหมคะ? ความหมายและหน้าที่ของแต่ละอันมันคืออะไรกันนะคะ มาดูที่สิ่งที่อะยะศึกษาได้มากันค่ะ
(ขอขอบคุณข้อมูล ความรู้จากเว็บ:http://m.chiebukuro.yahoo.co.jp/detail/q1018220910 และ http://www.nihongo2.com/speaking/16.pdf)
  
  1.)「ている」:ทางテンスแล้วใช้บอกว่ากำลังดำเนินกริยาอะไรอยู่ เช่น ทานข้าวอยู่ อ่านหนังสืออยู่ ส่วนทาง アスペクトจะใช้ในการบอกสภาพของสิ่งของหรือสถานการณ์ทั่วไป เช่น ประตูปิดอยู่ ไฟเปิดอยู่ แอร์เปิดอยู่ [(何か)が+自動詞+ている]
  2.)「てある」:เป็นアスペクトบอกสภาพการณ์โดยมีนัยความหมายแฝงว่า"มีใครบางคน"ได้ทำให้สิ่งนั้นๆเป็นสภาพการณ์ดังกล่าว เช่น เสื้อผ้าวางพับ(ไว้)อยู่บนโต๊ะ(โดยผู้พูดต้องการสื่อว่า*มีใครบางคนมาพับไว้(สังเกตได้จากบริบท ฯลฯ)) [(誰か)が+(何)を+他動詞(タ形)>>>(を>>が)>>>(何)が+他動詞+てある]
  3.)「ておく」:เป็นアスペクトบอกสภาพการณ์ว่าทำสภาพทิ้งไว้ เตรียมไว้ เช่น วางหนังสือทิ้งไว้ เปิดแอร์ไว้(รอแขก) [(人)が+(何)を+他動詞+ておく(起こった状態>>>ておいた)]
  สรุปความต่าง:「ている」และ「てある」เป็นการบอกสภาพที่เน้นที่"ผล" แค่บอกสภาพที่เห็นเท่านั้น แต่「ておく」บอกสภาพที่เน้นนัยยะ"ตระเตรียม" "คงสภาพการณ์" นั้นไว้
  例:窓を開けました。
         A:窓が開いている。(บอกสภาพของ"ประตู"ที่ถูกเปิดไว้เฉยๆ)
         B:窓が開けてある。(บอกสภาพของ"ประตู"ที่ถูกใครบางคนเปิดไว้ "มีใครบางคนมาเปิดไว้"*(ดูโครงสร้างไวยากรณ์ข้างบนประกอบ))
         C:窓が開けておいた。(บอกว่ามีใครสักคนตั้งใจเปิดประตู"ไว้"(ดูโครงสร้างไวยากรณ์ข้างบนประกอบ))
  
  เพื่อนๆทุกคนเข้าใจไหมนะคะ~>< ถ้าไม่เข้าใจก็ทิ้งคำถามไว้กล่องข้อความได้นะคะ อะยะจะพยายามอธิบายให้เข้าใจค่ะ^^
  

2014年2月15日土曜日

注意:「もう」(の使い)に気を付けてねっ!(>_<)

  พอจะบอกเหตุการณ์อะไรที่เป็นอดีตไปแล้ว คำนี้ก็ต้องมาเป็นแพคเกจเลย 「もう」+〜た มีใครคิดอย่างนี้บ้างไหมคะ ยกมือขึ้นมาแตะกับอุ้งเท้าหน้าของอะยะเร็วค่ะ^^ มาอัพบล็อกในครานี้ อะยะมีเรื่องจะขอกล่าวเตือนไว้กันพลาดนิดนึงนะคะ^^
  แม้คำว่า 「もう」จะมีความหมายตรงกับคำไทยว่าแล้วก็จริง แต่ ไม่ได้อธิบายถึง"แล้ว"ที่หมายถึง เรื่องบางอย่างที่เกิดขึ้น"แล้ว" เท่านั้นนะคะ แต่ยังคงหมายถึง"แล้ว"ที่มีความหมายเชิงว่า พอ"แล้ว" ไม่เอา"แล้ว" อย่างเช่น 「もういい!」もうเป็นต้น ด้วยนะคะ>< เพราะฉะนั้นเวลาที่เพื่อนๆใช้อย่าลืมระวังน้ำเสียงและความหมายดีนะคะ ไม่งั้นจะกลายเป็นว่าเนื้อหาผิดเพี้ยนหรือต่างนานาก็เป็นได้ค่ะ^^
  ไปนอนก่อนนะคะ บ๊อกแบ๊ก~


  アヤはモッチーが大好きです。▽^エ^▽

「言った」 VS 「言っていました」

  สวัสดีค่ะอะยะกลับมาพร้อมกับข้อสงสัยอีกแล้วค่ะ และแน่นอนค่ะว่า อะยะต้องไม่ลืมที่จะไขข้อสงสัยมาให้ด้วย^^
  ข้อสงสัยครั้งนี้คืออะไรกันนะคะ ข้อสงสัยครั้งนี้ทุกคนอาจจะเคยเรียนผ่านหูผ่านตากันมานานแล้วอย่างอะยะ แต่ว่สจะพอมีใครเอะใจ ค้างคาในความแตกต่างการแยกใช้ของ 2 คำนี้เหมือนอะยะบ้างไหมนะคะ><?
  เพื่อนๆคิดว่า「言った」กับ 「言っていた」ต่างกันอย่างไรคะ เคยใช้สลับสับสนผิดถูกๆกันบ้างไหมคะ อะยะเคยใช้ไปตามความรู้สึกเหมาะสมหลายครั้งอยู่ค่ะ แต่ก็ไม่สามารถแบ่งเลือกใช้อย่างถูกต้องเลยซะทีเดียว
  ก่อนอื่นอะยะต้องขอขอบคุณข้อมูลคำอธิบายอ้างอิงจาก http://m.chiebukuro.yahoo.co.jp/detail/q10115671085  ค่ะ จากคำอธิบายในเว็บดังกล่าว อะยะได้ข้อสรุปประมาณนี้ค่ะ
  
  1)ถ้ามองในแง่แกรมม่าแล้ว ก็คือมีที่มาจากรูปบอกเล่าธรรมดากับ รูปบอกสภาพต่อเนื่องนั่นเองค่ะ และแน่นอนว่าการที่ลงท้ายด้วย た ก็คือพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอดีตทั้งคู่
  2)มามองให้ลึกลงไปถึงมุมมอง アスペクト กันค่ะ 「言った」แค่บอกอย่างง่ายว่า"พูด"(การกระทำเกิดในอดีต) เช่น はっきり言ったんだ。(พูดอย่างชัดเจน(อดีต)) ส่วน 「言っていた」จะเป็นการอธิบายสภาพการณ์ว่า"พูด"(ไว้ว่า) กล่าวคือ ในอดีตได้พูด(อะไรสักอย่าง)ไว้ แล้วสภาพการณ์ที่ว่าพูดไว้นี้ก็ยังคงต่อเนื่องอยู่ในความรู้สึกของผู้ได้ยินเมื่อเอาไปบอกคนอื่นต่อ แต่เราอาจไม่รู้ว่าเนื้อหาของคำพูดนั้นยังเป็นจริงอยู่หรือไม่ เช่น มีใครคนหนึ่งบอกว่าเขาจะไปเที่ยว แล้วเราก็ไปบอกคนอื่นต่อว่าเขาบอกว่าจะไปเที่ยว(แต่ ณ ตอนที่เราพูดนั้น เนื้อหาคำพูดนั้นจริงหรือไม่เราก็ไม่ทราบ จึงคิดได้ว่าเป็นสาเหตุให้เป็นรูป ている ที่กลายเป็น た)
  例: A:「旅行に行くよ!」( Aさんが「旅行に行くよ!」と言った。(単に事実を言う))
          B:(Cさんに言った)「Aさんは「旅行に行く(よ)。」と言っていたよ。」(3第者に過去のことを伝える)

  งือ~ อะยะรู้สึกว่าอะยพอธิบายไม่เก่งเลย ขอโทษนะคะ>< แต่อะยะยินดีอธิบายให้เข้าใจนะคะ ถ้ายังสงสัย ก็ทิ้งข้อความในกล่องแสดงความคิดเห็นไว้ได้เลยค่ะ^^ ไว้จะมาใหม่นะคะ

ขอบคุณมากสำหรับความเห็นนะคะ(^人^)

  คุณ Thanabat Pratueangchaisri และ Physn Wiggin ขอบคุณมากๆนะคะ ที่มาแสดงความเห็นและเยี่ยมชมบล็อกของอะยะจัง ขอโทษที่มาขอบคุณและขอโทษช้าไปมากนะคะ พอดีไม่สามารถตอบทางมือถือได้ระบบขัดข้อง ส่วนจะล็อกอินตอบทางคอมก็ทำไม่ได้ด้วย เพราะอะยะลืมรหัสค่ะ(>人<;)
อะยะขอโทษ อะยะขี้ลืมมากๆค่ะ ><
  ขอบคุณคุณ Thanabat Pratueangchaisri ที่กล่าวชมบล็อกของอะยะและให้กำลังใจอะยะนะคะ ค่ะ อะยะจะตั้งใจศึกษาภาษาญี่ปุ่นต่อไปนะคะ และก็ หวังว่าบล็อกนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาหรือไขข้อสงสัยภาษาญีปุ่นให้คุณ Thanabat Pratueangchaisri ได้นะคะ
  ขอบคุณคุณ Physn Wiggin นะคะที่เข้ามาชมมาอ่านบล็อกของอะยะ แสดงความเห็นที่น่าสนใจ รวมถึงทั้งทิ้งคำถามที่น่าศึกษาเอาไว้ให้ อะยะได้ไปหาคำตอบมาให้แล้วนะคะ^^ ขอโทษที่ช้านะคะ
    คำถาม: 顧客(こきゃく) กับ 客さん(きゃくさん) นั้นต่างกันอย่างไร?
    คำตอบ: อะยะได้ไปหาข้อมูล คำตอบ ครุ่นคิดมามากมาย ได้รวมๆมาดังนี้ค่ะ(ขอขอบคุณเว็บ http://nexal.jp/blogs/2528.html |และ http://m.chiebukuro.yahoo.co.jp/detail/q1062992680 )
              1)顧客 เป็นภาษาที่ไม่(ค่อย)ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็น固い言葉เมื่อเทียบกับ客さん นิยมใช้เขียนใน 文章表現(บทความ ข้อความ?)
              2)顧客 ใช้กับลูกที่มารับบริการ (サービス的) ส่วน 客さん ใช้กับลูกค้าทางธุรกิจ (マーケティング的)
              แล้วเหตุผลคืออะไรกันนะคะ ถึงแบ่งออกมาเป็นข้อแบบนี้ จากที่อะยะศึกษาและตีความก็ได้ประมาณนี้ค่ะ 
              คือว่า ในแง่ความหมาย คำว่า 顧客 นั้นประกอบจากคำว่า 顧みる(かえりみる) ที่แปลว่า ย้อนมอง หวนมอง/คิด กับ 客 ที่แปลว่า ลูกค้า ประกอบกับคำอธิบายที่ว่า มีความหมายว่า リピート客 แล้ว คำว่า 客さん มีความหมายว่า 引取りに関係ない(ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าขาย) 一見さん (ขาจร) ดังนั้นจึงทำให้อะยะตีความได้ความการใช้ 客さん น่าจะใช้ได้กว้างขวาง ครอบคลุม แค่คนที่เดินเข้ามาในร้าน เดินผ่านร้าน หรืออาจรวมไปถึงลูกค้าที่มาอุดหนุนด้วยก็เป็นได้ แต่ 顧客 หมายถึงลูกค้าที่แวะเวียนมาอุดหนุน เคยมาอุดหนุน ต่อคิวซื้อของจ่ายเงิน ก็น่าจะใช้คำนี้ได้หมดเลยค่ะ
  ขอโทษคุณ Physn Wiggin นะคะที่อะยะอธิบายไม่เก่ง แต่อะยะพร้อมจะหาคำตอบมาอธิบายให้เข้าใจจนได้นะคะ มีอะไรทิ้งข้อความในกล่องความเห็นไว้ได้นะคะ^^
    

คดีนี้"ทุกคนเห็นนะ!"

  เพื่อนๆทุกคนคะ เพื่อนๆเคยดูการ์ตูนญี่ปุ่นแล้วสังเกตชื่อตอนต่างๆบ้างไหมคะ แม้จะเป็นประโยคสั้นๆ แต่ก็เป็นภาษาญี่ปุ่นใช่ไหมคะ?^^ ฟังอย่างนี้ทุกคนคงรู้แล้วสินะคะว่าอะยะจะสังเกตไหม? ค่ะ อะยะสังเกตค่ะ!ตอนนี้อะยะเริ่มหูกระดิกทุกครั้งที่ได้ยินรูป ている ていた ていく てくる ไปแล้วล่ะค่ะ ▽≧x≦▽
  ค่ะ แล้ว คราวนี้อะยะสังเกตอะไรได้มาอย่างนั้นหรือคะ? อะยะชอบดูโคนันค่ะ ชื่อตอนของการ์ตูนเรื่องนี้ มักจะเกี่ยวข้องกับคดี บังเอิญชื่อตอนคราวนี้ ที่แปลว่า "ทุกคนเห็น!(คดี)" นั้น พออะยะได้ยินแล้วก็นึกติดใจขึ้นมาค่ะ ว่าถ้าอะยะยังไม่เฉลยชื่อตอนที่เป็นภาษาญี่ปุ่น แล้วเอาชื่อตอนนี้ถามเพื่อนๆ จะแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นให้อะยะว่าอะไรนะคะ?
  
  เพื่อนๆจะแปลชื่อตอนภาษาไทยที่ว่า "ทุกคนเห็น!(คดี)" เป็นชื่อตอนภาษาญี่ปุ่นว่าอะไรคะ?
 1)みんなが見る!
 2)みんなが見ている!
 3)みんなが見た!
 4)みんなが見ていた!
  แหะๆอะยะมีตัวเลือกมาให้ด้วย^^
  
  ถ้าอย่างนั้นแล้ว มาค่อยๆคิดคำตอบไปกับอะยะกันนะคะ เพราะว่าเนื้อหาในตอนเป็นเรื่องที่เกิดไปแล้ว คดีความได้เกิดขึ้นแล้ว ตัวเอกทุกคนเห็นเหตุการณ์ทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องอดีตไปแล้ว ดังนั้น...จะไม่สามารถตอบข้อ 1) กับ 2) ได้ใช่ไหมคะ
  แล้วจะตอบข้อ 3) หรือ 4) กันนะคะ งั้นมาดูข้อ 3) และ 4) กันค่ะ เหมือนกันตรงที่แสดงสภาพการณ์ที่เป็นอดีตทั้งคู่ใช่ไหมคะ แล้วจะเลือกตอบอันไหนกันดีนะคะ
เพราะว่าชื่อตอนต้องการบอกให้รู้ถึงเนื้อหาคร่าวๆในตอนว่าเห็นเรื่องราวของคดี "คดี" เป็นเหตุการณ์ แล้วเหตุการณ์ก็เป็นสิ่งที่เกิดในช่วงเวลาหนึ่งใช่ไหมคะ ดังนั้นถึงภาษาไทยแปลว่า"เห็น" แต่ถ้าจะบอกเป็นภาษาญี่ปุ่นก็จะต้องใช้รูปที่แสดงสภาพการณ์ต่อเนื่องในอดีต ซึ่งก็ตรงกับข้อ 4) นั่นเองค่ะ ถ้าตอบข้อ 3) มันก็มีความหมายว่าเห็นในดีตเหมือนกัน แต่แค่บอกว่าเห็นคดีเกิด แต่ไม่ได้หมายความว่าเห็นคดีตั้งแต่ต้นจนจบใช่ไหมล่ะคะ ถ้าหากแค่บอกว่าเห็นผู้ร้าย อะไรอย่างนี้ อะยะก็คงจะตอบข้อ 3) ค่ะ^^
  ถ้าเพื่อนๆยังไม่เข้าใจ อะยะแนะนำให้ดูโคนันตอน「みんなが見ていた!」ดูค่ะ อะยะคิดว่าถ้าเพื่อนที่สงสัยเห็นได้ชมแล้ว จะเข้าใจว่าทำไมถึงต้องตอบข้อ 4) ค่ะ^^

2014年2月10日月曜日

ตัวอย่างเพิ่มเติมจ้า^^

  เพื่อนๆยังจำอะยะได้ไหม อะยะหายไปนานไม่ได้ไปไหน ไม่ได้ขี้เกียจอัพนะ(แก้ตัว? (T_T)) อะยะพูดจริงๆ อะยะโดนกองการบ้านดูดเข้าไป เพิ่งโผล่ออกมาได้นิดหน่อยค่ะ
  แล้ว..เพื่อนๆจำที่อะยะอัพคราวก่อนได้ไหม เรื่อง
「ああ!全て顧客がなくなっている!」ว่าทำไมกันนะถึงไม่ใช้รูปなくなりました。อะยะได้เอาเรื่องนั้นไปถามและมาอธิบายให้เพื่อนฟังไปแล้วรอบนึง แต่ว่าอะยะก็เข้าใจความด้อยในการอธิบายดี ดังนั้นวันนี้อะยะจึงจะขอนำตัวอย่างที่ได้มากจากอาจารย์ในคาบเรียนวันนั้นมาให้ดูเพิ่มเติมในวันนี้^^
   ถ้าเพื่อนจะบอกขอโทษอาจารย์เกี่ยวกับการส่งการบ้านเลยกำหนด อยากจะบอกว่าวันที่จะส่ง"ได้เลยกำหนดการส่งรายงานมาแล้ว" เพื่อนๆจะพูดแบบไหนคะ แบบนี้ไหมคะ「レポートの提出日が過ぎました。」หรือว่าแบบนี้「レポートの提出日が過ぎていました。」คะ อะยะเคยอธิบายไว้แล้วใช่ไหมคะว่า ถ้าจะใช้รูป た ก็หมายความว่าเหมือนเกิดขึ้น ณ จุดนั้น พูด ณ จุดนั้น เพราะสำหรับคำกลุ่มนี้เป็นคำที่เหลือสภาพไว้ ดังนั้นหากเวลามันผ่านเลยมาแล้ว จะพูดรูป た มันก็กระไรอยู่^^
  ใช่แล้วค่ะ คำตอบที่ถูกต้องสมควรพูดนั่นก็คือ... 「レポートの提出日が過ぎていました。」ค่ะ เหตุผลก็อย่างที่อธิบายนั่นแหละค่ะ เพื่อนๆจะยังสงสัยอยู่ไหมนะคะ อะยะจะพยายามหาตัวอย่างมาให้นะคะ^^ รอนะ^^

タスク6:メール(お礼)

田中 先生

 こんにちは、田中先生。私は先生の「日本の文化2」という科目を履修している日本語の専攻の大学生で、パッタマーと申します。
 昨日はご馳走になりまして、本当にありがとうございました。とても美味しかったです。また、先生に日本の面白そうな文化や日本の色々な観光地なども教えていただき、大変ありがたかったです。
 もしも、昨日は礼儀も知れず、失礼がありますれば、お許してください。
 これからも先生の授業を頑張って勉強し続け参ります。
 今後も宜しくお願いいたします。

パッタマー

タスク5:メール(お詫び)

ครั้งที่1
田中さとし先生

こんばんは、さとし先生。私は先生の「日本の歴史」という科目をお習いしておる日本語の専攻の大学生です。
おととい提出締め切りの宿題のことなのですが、締め切りのまでに宿題を提出することができなくて、申し訳ございません。実は先週の月曜日、先生の宿題をいただいた後、帰り道途中私は原因を知らずに高熱で癲癇になりました。その日から昨日まで失神ておりました。昨日は意識を回復しましたので、できる限りに早めに先生の宿題をいたしました。遅くお送りいたして、申し訳ございませんが、よろしくお願いいたします。

パッタマー シャットソンティラック
5440121622

iPhoneから送信

反省:
1.คำถ่อมตนยกย่องยังเลือกใช้ไม่ค่อยเก่ง ใช้ผิดๆถูกไม่เป็นไปตามที่ใจต้องการ เช่น お習いしておる
2.คำศัพท์ที่เหมาะสม ที่ควรใช้เวลาคุยกับอาจารย? หรือในการเขียนอีเมล์ขอโทษ ยังแบ่งใช้ได้ไม่คล่อง
3.ประกอบคำขึ้นใช้เองมั่ว - -* เช่นคำว่า できる限りに早めに〜
4.เป็นเนื้อหาที่พูดแต่เรื่องขอตัวเองไม่ถามความสะดวก ความคิดเห็นอาจารย์
先生と日本人からコメント:
1.お習いしておる>>>履修している
2.できる限りに早めに>>>できるだけ早く
3.ไม่ถามความสะดวก ความเห็นของอาจารย์ก่อนว่าส่งได้ไหม ควรถามอาจารย์ก่อน
4.แนะนำตัวไม่บอกชื่อ บอกรหัส แต่กลับเอารหัสอยู่ข้างล่าง


ครั้งที่ 2 
レポートの提出限定に遅れのお願い
田中先生

  こんにちは。田中先生の「日本の文化2」という科目を受け取っている日本語先行の大学生、パッタマーと申します。
  レポートの提出のことなのですが。提出期限は1月30日になっていますが、締め切りのまでにレポートを提出することができなく、深くお詫び申し上げます。実は私は先週の火曜日からインフルエンザにかかって、一昨日まで高熱なのでした。このようにその期間はレポートをできませんでした。
  しかし、一昨日はインフルエンザが治りましたので、できるだけ早くレやりかけのポートを書き上げました。
  全ては私、パッタマーの気の緩みが指いたことでありますが、せめて提出だけでもしたいと思いまして、このメールと添付してお送り致します。二度と同じ過ちを繰り返さないように厳しく自戒しますので、お受け取っていただけないでしょうか。
  本当に申し訳ございません。
  宜しくお願い致します。

パッタマー

先生からコメント:
เปลี่ยนจาก締め切りのまでに>>>締め切りまでに