2014年1月26日日曜日

「ああ!すべて顧客がなくなっている!」???

 สวัสดีค่ะ เพื่อนๆคะเคยเล่นเกมส์ที่เป็นเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นกันไหมคะ>< ถ้าเคย เคยสงสัยในบางคำพูดของเกมส์บ้างไหมคะ เช่นว่า ทำไมพูดแบบนี้ ไม่พูดแบบนี้? วันนี้อะยะจะมาพูดถึงข้อสงสัยจากกรณีดังกล่าวค่ะ
 เมื่อวันก่อนอะยะเล่นเกมส์ๆหนึ่งที่ต้องบริการลูกค้าใหัทันใจ แต่อะยะบริการช้าไปลูกค้าจึงพากันกลับบ้านไปหมดเลยค่ะ ทุกครั้งที่ลูกค้าลาจากกันไปแบบนี้ ระบบก็จะขึ้นมาว่า「ああ!全て顧客がなくなっている!」(อ๊า! ลูกค้าหายไปหมดแล้ว) แต่ว่าเอ๊ะอะยะสงสัยว่าทำไมต้องเป็น 〜なくなっている ทำไมไม่ใช้รูปอดีตเป็น 〜なくなりました。กันนะ
 อะยะได้เก็บข้อสงสัยดังกล่าวไปหาคำตอบโดยการสอบถามความเห็นคนญี่ปุ่นมาค่ะว่าคิดว่าทำไมต้องพูดว่า 〜なくなっている เขาอธิบายว่าน่าจะเป็นเพราะว่า なくなっている ให้ความรู้สึกอธิบายถึงอดีตมากกว่าค่ะ ซึ่งในตอนแรกอะยะก็งงอยู่ว่าถ้าอยากใช้รูปอดีตทำไมไม่ใช้รูปไวยากรณ์อดีตไปนะ>< จึงขอให้อธิบายเพิ่มเติมให้ค่ะ
 ได้ความว่า การใช้รูป 〜なくなっている อธิบายให้เห็นว่าลูกค้ากลับไปหมดแล้ว แล้วที่เห็นรับรู้อยู่ปัจจุบัน ก็ไม่มีลูกค้าอยู่แล้ว พูดด้วยรูปนี้แล้วจะเห็นภาพได้อย่างนี้นี่เองค่ะ น่าจะแปลได้ประมาณว่า "อ๊า~ ลูกค้า(ได้)กลับไปหมดแล้ว"เป็นการบอกให้เห็นสภาพตามไวยากรณ์เค้าด้วยนั่นเองค่ะ
 แต่ถ้าเป็น なくなりました เหมือนประมาณแค่พูด ณ จุดเวลาที่เกิด ถ้าให้ประมาณเอาก็น่าจะอุทานของไทย(หรือเปล่านะคะ) ประมาณว่า "อ๊ะ ลูกค้ากลับไปหมดแล้วล่ะ" 
 เพื่อนๆจะเข้าใจไหมนะคะ ขอโทษที่อะยะอธิบายไม่เก่งค่ะ ตอนนี้หลายภาษาตบกันในหัวอะยะแล้วล่ะค่ะ ขออะยะไปนั่งสมาธิก่อนนะคะ แล้วเจอกันใหม่ค่ะ^^

2014年1月11日土曜日

メールを書き方

ครั้งที่1
山内 修二様
 こんにちは、山内さん。私はパッタマーと申します。趣味はフラミンゴギターです。もう5年ほどレッスンを受けていて、将来はフラミンゴ舞踊の伴奏として仕事をしたいと思っています。昨日の夜はたまたま山内さんのホームページをはいけんすると、「すばらしいギタリストだと思って、ぜひ個人レッスンを引き受けていただきたい」と思いいたしました。山内さんの答えを伺いため、このメールをお書きいたし、遅らせていただきました。ご迷惑をおかけして、申し訳ございません。宜しくお願いいたします。
                                            パッタマー

ข้อเสนอแนะติชมจากเพื่อน:
1.คิดว่าขึ้นต้นว่า「こんにちは、山内さん。」มันดูสนิทกันเกินไป เหมือนรู้จักกันแล้ว
2.อาจจะควรถามรายละเอียดเกี่ยวกับคอรส์เรียนเพิ่ม เช่น รับสอนวันไหน สอนครั้งละกี่ชั่วโมง ฯลฯ
3.พอบอกว่าเราอยากเรียนกับเขาอาจจะถามว่า เราต้องทำอย่างไรบ้าง มีการเตรียมอะไรบ้าง ฯลฯ
4.ใช้敬語ได้สุดยอดมาก
5.แนะนำตัวเอง(เพิ่ม)ด้วยก็อาจจะดีนะ^^
#ขอบคุณสำหรับคอมเมนต์จากเพื่อนค่ะ

ข้อเสนอแนะสอนแนวทางจากอาจารย์:
1.เพราะเขาเป็น先生(ด้วย?)จึงควรเปลี่ยนจากคำว่า様เป็น先生
2.เพราะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน และเขามีอายุที่มากกว่าและเป็นอาจารย์(สถานภาพสูงกว่า)จึงควรใช้คำพูดว่า突然メールを差し上げる(/お送りする)失礼をお許しください。มากกว่าที่ใช้พูดว่าこんにちは
3.ใช้「〜引き受けていただきたい」ผิด(ไม่เหมาะสม)
4.ไม่มี「お書きいたし」(ผันแปลก เพราะปกติแล้วคำกริยาสั้นๆอย่าง 書く 食べる 読む ไม่ผันรูป お〜する)
5.ไม่จำเป็นต้องขอโทษถึงขนาดต้องใช้คำว่าご迷惑をおかけして、申し訳ございません。
6.คำว่า宜しくお願いいたします。สมควรมีแล้ว^^
7.คนญี่ปุ่นจะไม่ขอบคุณก่อนการทำความเข้าใจจะเกิดขึ้นต่อทั้ง2ฝ่าย(ไม่ขอบคุณล่วงหน้าเองทั้งๆที่เขายังไม่รับรู้หรือตกลง เพราะมันเป็นการตัดสินใจไปเอง)
8.ห้ามใช้追伸(ปล.)
9.บอกข้อมูลที่จำเป็น ไม่บอกข้อมูลที่อีกฝ่ายรู้อยู่แล้วหรือไม่เกี่ยวข้อง(ข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องบอก)
10.จดหมายควรแบ่งเป็น2ย่อหน้าขึ้นไป(3ก็จะดี คือ เกริ่น เนื้อหา และสรุป) และหากเนื้อหาเปลี่ยนก็ขึ้นย่อหน้าใหม่

内省:เนื่องจากเป็นการเขียนจดหมายในสถานการณ์ขอร้องเป็นครั้งแรก และนอกจากนนี้อีกฝ่ายยังเป็นคนที่มีสถานภาพสูงกว่า เป็นอาจารย์ที่เป็นนักกีตาร์มีชื่อเสียงและไม่เคยรู้จักเรามาก่อน ทำให้อะยะสับสนมากๆว่าควรเขียนอย่างไรดี ที่จริงอะยะก็อยากสอบถามข้อมูลอีกฝ่ายมากกว่านี้ตามที่เพื่อนแนะนำ เช่น อาจารย์ว่างไหม ขอโทษที่เขียนมาขอร้อง อาจารย์พอจะว่างไหม อาจารย์คิดค่าเรียนเท่าไหร่ เราจะบอกไปได้ไหมว่าเราไม่สะดวกอะไรบ้าง แต่ว่าเพราะอะยะไม่รู้ว่าควรเขียนอย่างไรดีจึงจะเหมาะสม และกลัวเขียนผิด เสียมารยาท จึงเลิกคิดที่จะเขียนไปแล้วเลือกเขียนเฉพาะเท่าที่มั่นใจเท่านั้น เพราะคิดว่าแม้การลองผิดลองถูกเป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าถ้าอีเมลล์ที่เขียนนั้น คิดจริงๆว่าต้องส่งไปล่ะก็ อะยะก็คิดว่ามันไม่สมควรที่จะทำลงไป แต่ทั้งนี้อะยะก็มีความคิดที่ขัดแย้งอย่าง มันเป็นภาษาที่สุภาพจนเกินไปไหมนะ สังเกิดว่าได้ว่าในเนื้อความอีเมลล์อะยะเรียกอีกฝ่ายใช้แค่ さん ไม่ใช้ 様 เหมือนหัวจดหมาย อีกอย่างจากความคิดเห็นของเพื่อนก็ได้บอกเอาไว้ด้วยว่า มันเป็นภาษาที่ใช้รูปยกย่องสุดๆ ดังนั้น ด้วยความลังเลสับสนต่างๆอีเมลล์ของอะยะเมื่อเทียบกับของเพื่อนๆของอะยะจึงสั้นมากๆ
ป.ล.จากก่อนหน้านี้ที่อะยะพูดเรื่องความต่างของ てきました กับ ていました อะยะจะเอาความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการเขียนแก้ครั้งที่ 2 ด้วยค่ะ

ครั้งที่2
山内修二 先生

 突然メールを差し上げる失礼をお許しください。パッタマーと申します。

 先生のホームページを見て、先生の個人コースをぜひ受けたいと思いいたしました。レッスンを受けるかどうかお尋ねたいと思いいたします。

 私は5年ほど前から家の近くのあるフラミンゴクラブで毎日一時間フラミンゴギターのコースを受けてきました。将来はフラミンゴ舞踊の伴奏家として仕事ができればと思っております。

  先生と個人レッスンを受けたことのあるタオファイさんに相談したところ、先生のコースを受ければどうかというアドバイスをいただきました。

  ただ、私は3年生になってから、毎日家から遠い大学の授業を6時まで受けていますので、土曜・日曜の午前8時以降しかレッスンに通えません。お手数ですが、レッスンを受けていただけるかどうか、お知らせいただけないでしょうか。日時を指定していただければ、先生のところにご相談に伺わせていただきます。

 お返事は急ぎませんが、どうぞ宜しくお願いいたします。

                                            パッタマー

คอมเมนต์และข้อเสนอแนะ/คำแนะนำจากอาจารย์ค่ะ
1.思いいたすไม่มีใช้=ผิด ดังนั้นใช้แค่ 思います ก็พอ(ตอนที่ใช้ไปเพราะคิดว่าอยากให้สุภาพมากเลยลองใช้รูปนี้ดูค่ะ)
2.ไม่ควรใช้どうか เหมือนแสดงว่าอ.ที่เราติดต่อเมลล์ไปหาเป็นเพียงตัวเลือกหนึ่ง ซึ่งเป็นการไม่ให้เกียรติท่าน(ในตอนแรกคิดว่าเพราะเป็นรูปประโยคแบบนี้ จึงน่าจะใช้ได้ค่ะ><;)
3.毎日家から遠い大学の授業を6時まで受けています >>>ควรแบ่งเป็น2ประโยค นอกจากนี้การบอกว่า 家から遠い ดูเป็นข้อมูลที่จำเป็น ถ้าจะบอกควรบอกให้ดูเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักกว่านี้

#ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของอาจารย์มากๆนะคะ จะศึกษาและจดจำคำแนะนำและขอนำไปปรับใช้ในครั้งที่3ค่ะ

ครั้งที่3
山内修二 先生

 突然メールを差し上げる失礼をお許しください。パッタマーと申します。

 先生のホームページを見て、先生の個人コースをぜひ受けたいと思いました。レッスンを受けるかどうかお尋ねたいと思います。

 私は5年ほど前から家の近くのあるフラミンゴクラブで毎日一時間フラミンゴギターのコースを受けてきました。将来はフラミンゴ舞踊の伴奏家として仕事ができればと思っております。

  先生と個人レッスンを受けたことのあるタオファイさんに相談したところ、山田先生のレッスンを紹介していただきました。

  ただ、私は3年生になってから、平日は大学の授業が6時まであります。大学は郊外にあるため、移動することはむずかしいと思います。したがって、土曜・日曜の午前8時以降しかレッスンに通えません。お手数ですが、レッスンを受けていただけるかどうか、お知らせいただけないでしょうか。日時を指定していただければ、先生のところにご相談に伺わせていただきます。

 お返事は急ぎませんが、どうぞ宜しくお願いいたします。

                                            パッタマー

2014年1月7日火曜日

て形+きました VS て形+ていました

 เมื่อวานนี้ตอนอะยะเรียนการเขียนอีเมลล์ภาษาญี่ปุ่นเพื่อขอร้องอะไรบางอย่าง(เกี่ยวกับส่วนดังกล่าวอะยะจะมาอัพอีกทีนะคะ)อะยะก็ได้แอบสังเกตเห็นเนื้อหาที่น่าสนใจที่คิดว่าเกี่ยวกับ アスペクト ค่ะ นั่นก็คือเรื่องความต่างของ て形ที่ตามด้วยきました กับ ที่ตามด้วยていました
 เพื่อให้เข้าใจง่าย อะยะขอยกเอารูปประโยคที่เรียนมาจากอาจารย์ผู้สอนมาพร้อมคำอธิบายนะคะ 
1.てきました-5年ほどギターのコースを受けてきました。
2.ていました-5年ほどギターのコースを受けていました。
 ทั้ง 2 ประโยคดังกล่าวนี้ ถ้าแปลเป็นไทยแล้ว อะยะคิดว่าคงทำให้เข้าใจผิดได้ เนื่องจากสามารถแปลได้ว่า "เรียนกีตาร์มาประมาณ5ปีแล้ว"
 แต่ความต่างของมันก็คือ แบบที่ 1 ให้ความหมายว่าผู้พูดเรียนมาตลอดจนถึงตอนนี้ก็ยังเรียนอยู่ ส่วนแบบที่ 2 ให้ความหมายว่า เรียนมาตลอด5ปีและก็หยุดเรียนไปแล้ว ค่ะ
 ตามความเข้าใจของอะยะพูดง่ายๆก็คือ てきました จะให้มุมมองของการกระทำที่ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน แต่ ていました นั้นจะให้มุมมองความต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งและเสร็จไปแล้วนี่เองค่ะ
 อะยะคิดว่าการใช้ภาษานั้นเกี่ยวข้องกับความรู้สึกมุมมองของผู้ใช้อย่างมาก ดังนั้นจึงต้องพิจารณาและตีความ アスペクト ก็เช่นกันค่ะ มาพยายามทำความเข้าใจไปด้วยกันนะคะ ▽^ェ^▽

2014年1月6日月曜日

「日本人にチェックして、教えてくれた作品」

△=自分の
〇=日本人の
 
△「BTSチョンノンシ駅からチュラーロンコーン大学文学部BRKビルまでの行き方」
この行き方は、サヤーム駅に着いたら、チュラー大のシャトルバスに乗り、BRKビルで下車する行き方なのです。初めてチュラー大に行く人ならば、この行き方が一番便利だと思います。
 
〇「BTSチョンノンシ駅からチュラーロンコーン大学文学部BRKビルまでの行き方」
この行き方は、サヤーム駅に着いてから、チュラー大のシャトルバスに乗り、BRKビルで下車する行き方です。初めてチュラー大に行く人なら、この行き方が一番便利だと思います
 
 
△まず、BTSチョンノンシ駅で「สยาม•Siam(サヤーム)」という駅までのチケットを買ってください。(サヤーム駅の近くにはチュラー大のシャトルバスの乗り場が二つもあります。)改札口にに入ると、「National Stadium 」という看板に従って、ホームを目指し、乗車してください。この電車は「ศาลาแดง・Sala Daeng(サーラーデーン)」駅、「ราชดำริ・Ratchadamri(ラーチャダムリ)」駅、それから「สยาม・Siam(サヤーム)」駅で止まります。
 
〇 まず、BTSチョンノンシ駅で「สยาม•Siam(サヤーム)」という駅までのチケットを買ってください。(サヤーム駅の近くにはチュラー大のシャトルバスの乗り場が二つあります。)改札口に入ると、「National Stadium 」という看板に従ってホームを目指し、乗車してください。この電車は「ศาลาแดง・Sala Daeng(サーラーデーン)」駅、「ราชดำริ・Ratchadamri(ラーチャダムリ)」駅、それから「สยาม・Siam(サヤーム)」駅で止まります。
 
 
△次に、サヤーム駅で下車した後、「Exit6」に従って、改札口を出てください。そうすると、生面ピンクの「KARMART」という店が見えます。右折すれば、二つの下へ降りる階段が見えます。左側の階段はちょっと面倒だと思いため、右側の階段を降りてほしいです。階段を降りきったら、左折し、直進してください。まもなく右側に「Boots」という真っ青な看板が見えます。そこで、右折し、もう少し直進すると、バス停が見えます。そこのバス停には座席もあって、後ろにはセブンイレブンがあるのです。
 
〇次は、サヤーム駅で下車した後、「Exit6」に従って、改札口を出てください。そうすると、正面にピンクの「KARMART」というお店が見えます。そのお店を右折すると、下へ降りる階段が二つあります。左側の階段を使って行く方法はちょっと面倒なので、右側の階段を降りて行きます。右側の階段を降りきったら、左折し、直進してください。そうすると。まもなく右側に「Boots」という青いな看板が見えます。そこで、右折し、もう少し直進すると、バス停が見えます。そこのバス停には座席もあって、後ろにはセブンイレブンがあります。
 
△そこが大学行きのシャトルバスのバス停です。チュラー大のシャトルバスがこのバス停で止まります。チュラー大のシャトルバスの色はピンクで、シャトルバスの前の窓にはバスの番を表す小さい看板があるのです。乗車しなければならないのは「1番」それとも「4番」のシャトルバスです。「1番」と「4番」のシャトルバスならばどれでも、BRKビルで止まります。でも、おすすめのは「1番」なのです。なぜかというと、「4番」のシャトルバスは遠回り道でBRKビルに行きますからです。というわけで「1番」のシャトルバスに乗ってほしいのです。シャトルバスが来たら、乗車してください。
 
 
〇そのバス停が大学行きのシャトルバスのバス停です。チュラー大のシャトルバスはこのバス停で止まります。チュラー大のシャトルバスの色はピンクで、シャトルバスの前の窓にはバスの番号を表す小さい看板があります。乗車しなければならないのは「1番」か「4番」のシャトルバスです。「1番」と「4番」のシャトルバスならばどれでも、BRKビルで止まります。でも、おすすめは「1番」のバスです。なぜかというと、「4番」のシャトルバスは遠回りでBRKビルに行きます。というわけで「1番」のシャトルバスで行く方法がおすすめです。
シャトルバスが来たら、「1番」のシャトルバスに乗車してください。
 バスに乗ると5分ぐらいで、チュラロンコン大学の正門に入ります。左手には並んでいる各学部のビルが見えます。門に入って二つ目のバス停が見えれば、自動扉のそばにある小さくて、丸いボタンを押して、降りてください。右手、バス停のななめ側に小さいセブンイレブンがあります。そのバス停の後ろの一番近くの白いビルがBRKビルです。ビルの前には「อาคารบรมราชกุมารี」と書いています
以上が「BTSチョンノンシ駅からチュラーロンコーン大学文学部BRKビルまでの行き方」
です。

内省:ในที่นี้อะยะขอพูดในเชิงความแตกต่างของการใช้ที่อะยะผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่2กับการใช้ของผู้เป็นเจ้าของภาษาค่ะ^^
1:ตอนที่อะยะพูดแนะนำว่าวิธีเดินทางที่แนะนำต่อไปนี้เป็นแบบไหน อะยะเขียนไว้ว่า ~行き方なのです。แต่จากที่ได้รับการแนะนำมานั้น ดูเหมือนว่าคนญี่ปุ่นจะหลีกเลี่ยงใช้รูป ~のです。ที่อะยะใช้ไปนั้นเพราะอยากจะบอกในเชิงเน้นย้ำให้เข้าใจแจ่มชัดว่า วิธีการที่แนะนำเป็นแบบไหน แต่จากการคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงนั้น คิดว่าบางทีอาจเป็นเพราะว่าดูเป็นเรื่องไม่สมควร แสดงถึงการอวดรู้เกินไปก็เป็นไปได้ค่ะ

2:ตอนที่อะยะอยากให้ผู้อ่านคำแนะนำทำอะไรอะยะใช้รูปแบบคำว่า 〜てほしいです。ไปเลยแต่พอลองศึกษาวิธีการขอให้ทำตามของคนญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นจะพยายามหลีกเลี่ยงการขอให้ทำตามตรงๆ จะอธิบายเหตุผลอย่างละเอียดสุภาพชัดเจนแทน คือ 左側の階段を使って行く方法はちょっと面倒なので、右側の階段を降りて行きます。สังเกตว่าจะอธิบายว่า"ถ้าใช้บันไดด้านซ้ายมือจะวุ่นวาย จึงลงบันไดฝั่งขวามือ" นอกจากนี้ยังเห็นได้ว่าไม่ใช้กริยาที่เกี่ยวข้องกัลอีกฝ่าย(ผู้อ่านคำแนะนำ)แต่ใช้เชิงเล่า จากมุมมองของอะยะจังเหมือนกับเขากำลังบอกว่าในความคิดเขาเป็นอย่างไรเขาตัดสินใจอย่างไร บอกเป็นนัยให้อีกฝ่ายทำตาม

2014年1月5日日曜日

タスク2。1

面白く説明してみて!!!

เรื่องที่1


秘密1:

私:ね、ね、フォンちゃん、昨日私は、えーと、面白いドラマを見たんだよ。えーと。。えーと、あるとっても綺麗な女性の話なんだ。えーと、その人はとっても綺麗なんだけど、本当はその人は整形美人なんだ。えーと、その女の子の名前は。。えーと、富士子、富士子だよ。で、そのおかげで、整形をしたのおかげで、えーと、優しくて、素敵な彼氏ができたんだ。で、彼の名前はシャブーシ君。シャブーシ君は。。えーと、富士子が、。。えーと、この二人の人がデートをしていたんだ。で、富士子がおしっこしたいと思って、トイレへ行って、カバンをシャブーシ君に預けたんだ。えーと、なんか、えーと、シャブーシ君は富士子の中何か入れているのか、いったい知りたかったン。。えーと、知りたかって、富士子のカバンをこっそり見たんだ。で、えーと、富士子が気の緩みから、昔の写真をシャブーシ君に見られちゃって、えーと、整形したことがばれちゃって、大ピンチだと思ったんだ。でも、たとたん、シャブーシ君が「なんだそのこと気にしなくてもいいのに。。」といってだって、それから、パッ、カツラを取って、僕もこんなだし。。。」といったんだ。えーと、富士子がショックして、「あが。。。」と言って、走って行ったんだ。。

内省ในการอธิบายครั้งนี้ หากพิจารณาตามความซื่อสัตย์แล้ว อะยะคิดว่ามันอาจจะมองดูเหมือนว่าอะยะทำได้ดี มีการใช้คำศัพท์น่าสนใจ แต่อันที่จริงแล้ว นั่นเป็นเพราะภาพที่ได้รับมีการใช้คำอธิบายอยู่มากนั่นเอง เป็นสิ่งที่น่าคิดว่าหากให้อะยะนึกคำศัพท์เองจะทำได้เท่านี้ไหม อนึ่ง อาจเป็นเพราะอะยะเป็นคนขี้ตื่นเต้นและขี้ลืม แต่อย่างไรก็ตาม อยากจะทำด้วยตัวเองให้ได้ดีกว่านี้ เพราะภาษาไม่ได้มีเพียงแต่การเขียน และใช่ว่าการเขียนทุกครั้งจะมีเวลาให้นั่งค่อยๆคิดเสมอไป จะใช้ภาษาให้เก่ง ต้องคล่องแคล่วและถูกกต้องกว่านี้ เพื่อให้การเล่านั้นเนื้อหามีความเป็นธรรมชาติและสนุกกว่านี้ อะยะคิดว่าควรใช้ アスペクト 擬音語 擬態語 มากกว่านี้ ถ้าอะยะสามารถนำมาใช้ เรื่องก็จะเห็นภาพละเอียดขึ้น ผู้ฟังก็จะสามารถจินตนาการเสียงประกอบท่าทางตามที่ผู้เล่าคิดได้ การเล่าเรื่องคงน่าสนใจมากกว่านี้ อะยะยังใช้สิ่งเหล่านี้ได้ไม่คล่องและดีพอ

จากการได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ อะยะขอพิจาณาเป็นข้อๆดังนี้นะคะ

1.デートをしていたんです。(話を語る)>>>เพราะตอนที่อะยะอธิบาย อะยะอยากจะบอกว่า หนุ่มสาวคู่นี้กำลังเดทกันอยู่ ซึ่งหมายความว่าเป็นการกระทำต่อเนื่องในช่วงหนึ่งของวัน อะยะจึงใช้รูป ている แต่ก็เพราะเป็นการเล่าถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว อะยะจึงผันเป็นรูปอดีต แต่อันที่จริงตามที่ถูกต้องแล้วแม้ว่าเป็นเรื่องในอดีต ในกรณีนี้ก็ไม่จำเป็นต้องผันเป็นรูปอดีตอีก ถ้าถามถึงเหตุผล อะยะพิจารณาว่าเพราะมันจะทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นเรื่องเกิดในตอนไหนกันแน่

2.中何か入れているのか ที่จริงอะยะต้องการจะพูดว่า มีอะไรใส่อยู่ข้างในบ้าง ดูเป็นประโยคที่ง่ายแต่ตอนเล่า ณ เวลานั้น อะยะก็ตกใจจนพูดผิดพูดถูกค่ะลืมแม้กระทั่งคำว่ากระเป๋าด้วย ถ้าจะพูดประโยคนี้ให้ถูกก็คือ 鞄の中に何が入っているのか

3.たとたん>>>ที่จริงอะยะต้องการจะพูดว่า"ทันใดนั้นเอง" ที่จริงตอนพูดอะยะก็ไม่มั่นใจว่าสามารถใช้คำนี้ได้ไหม แต่อะยะต้องการสื่อความหมายนี้ แล้วพอนึกถึงภาษาญี่ปุ่น คำที่ใกล้เคียงมี่สุดที่อะยะนึกออกตอนนั้นก็คือไวยากรณ์ 〜たとたん ที่แปลว่าพอทำ~ก็เกิดขึ้นทันทีค่ะ ถ้าจะให้อะยะพูดใหม่ ก็อยากใช้คำว่า するとค่ะ

เรื่องที่ 2 (เรื่องนี้เล่าได้ไม่ดี ไม่มีสีสันเท่าไหร่ค่ะ><)


飛行機1:

:フォンちゃん、昨日はね、えーと、私の兄が、えーと、カンボジアに行く予定だったですけれど、間に合わなかったんだ。で、でも、それは、えーと、運が良かったんですよ。えーと、乗れなかったこと。。えーと、それがね、えーと、兄が、えーと、最初は文句を何度も言ったんですけれども、えーと、家に着いて、テレビをついて、ニュースを見ると。。えーと、なんとショッキングニュースがありました。。あ。あ。あったんだ。それニュースはそのえーと、間に合わなかった飛行機がえーと、台風と合っちゃって、落ちちゃうんだ。。。えーと、。。。運が良かったんですよね。。

フォンちゃん:うん、良かったんですね。

内省:การเล่าเหตุการณ์เรื่องนี้ แม้ภาพประกอบของเรื่องนั้นมีเพียงแค่ ภาพและดูไม่ซับซ้อน แต่เอาเข้าจริงพออะยะเริ่มเล่าแล้วอะยะก็ได้รู้ว่ายังมีบางศัพท์ที่ไม่ทราบอีกมาก เช่น ขึ้นเครื่องบินไม่ทัน หรืออย่างกรณีที่จะอธิบาย เรื่อง เครื่องบินตก คำว่า “ตก ไม่แน่ใจว่าควรใช้คำว่า 落ちるไหม บางคำที่เป็นสำนวนที่เรียนไปแล้วก็นึกไม่ออก เช่น โชคดีในโชคร้าย 不幸中の幸いดังนั้นจึงใช้เพียงการอธิบายง่ายๆไปอย่าง 運が良かった ทั้งๆที่อะยะคิดว่าถ้าใช้สำนวนดังกล่าว จะอธิบายเนื้อหาเรื่องราวและสื่อความรู้สึกได้ดีกว่านี้ ส่วนคำช่วยนั้นบางครั้งทั้งที่รู้ว่าถ้าใช้ตัวนี้ผิดนะ แต่เพราะความลืมตัวหรือเร่งรีบเกินไปก็ไม่ทราบ อะยะก็กลับใช้ทั้งๆที่ผิดไป นอกจากนี้อะยะก็ดูเหมือนจะติดใช้คำว่า えーと อะยะใช้บ่อยมากๆ ไม่เพียงจะเป็นการสังเกตจากการฝึกฝนครั้งนี้ ครั้งๆอื่นก็เป็นเช่นกัน และที่สำคัญอะยะยังไม่ได้ใช้ アスペクトในการอธิบายเลย ทั้งๆถ้าที่ใช้ ข้าพเจ้าคิดว่าเนื้อเรื่องจะฟังแล้วทำให้นึกภาพตามได้ง่ายขึ้น เป็นธรรมชาติมากขึ้น จากการทำแบบฝึกหัดนี้ พอลองมองโดยภาพรวมอีกครั้งและนั่งทบทวนดีๆแล้วอะยะว่า ตัวอะยะเองต้องตั้งสติก่อนพูดให้ดีกว่านี้และฝึกพูดอธิบาย ฝึกใช้คำศัพท์และรูปไวยากรณ์ที่หลากหลาย อธิบายให้ละเอียดกว่านี้  

 คำศัพท์หรือรูปประโยคที่อะยะอยากสื่อออกไปแต่ก็ทำไม่ได้คือ..

1.เครื่องบินที่ขึ้นไม่ทัน

คำที่อะยะใช้:間に合わなかった飛行機

คำที่คิดว่าควรใช้:乗り遅れてしまった飛行機

2.เครื่องบินตก

คำที่อะยะใช้:飛行機が落ちちゃうんだ

คำที่คิดว่าควรใชั:飛行機が墜落してしまった

3.เปิดทีวี

คำที่อะยะใช้:テレビをつく

คำที่คิดว่าควรใช้:テレビをつける

(เนื่องจาก つく ที่แปลว่าเปิด เป็นคำอกรรมกริยา)

ความรู้เพิ่มเติมซึ่งเป็นศัพท์ที่อะยะสนใจและแนะนำคือ

窓から飛行機が飛んでいくのが見えました。

แปลว่า มองเห็นเครื่องบินขึ้นไปจากหน้าต่าง ^^